หลวงพ่อ: ................สงสัยทั้งนั้นเหรอ
อุบาสก:ไม่.....ผม.....เดี๋ยวอาจารย์.....ผมไม่ถาม.........เมื่อกี้ผมถามแล้ว......
หลวงพ่อ: ใช่.....อยากจะรู้เรื่อง อยากจะรู้อะไรต่ออะไร เรื่องจิตใจว่า เราอยู่นอกพุทธศาสนา.....มา เลื่อมใสได้อย่างไร อยากรู้จักในฐานอย่างนี้
อุบาสก: ครับ.....เข้าใจครับคือว่า.........นี่ถ้าผมไปเล่าให้ใคร คงจะไม่มีใครเชื่อ
หลวงพ่อ: ใช่.....ที่ท่าน (หมายถึงท่านสุเมโธ) ตอบให้ท่านฟังน่ะ ท่านตอบไม่ค่อยถูกดีน๊ะ ถูก.....แต่มันไม่เข้าใจ ถามว่า.....ท่านได้ไปเสาะแสวงหาศาสนาอื่นแล้วหรือยัง ท่านว่า......ไม่ได้ไปหรอก คือว่ามาถึงศาสนาพุทธแล้วก็พอ คำที่ว่าพอน่ะ คนฟังก็เห็นว่า ท่านศึกษาน้อยไป นี่น่ะ.....ไม้ฆ้อนนี่เห็นไม๊ (หลวงพ่อหยิบไม้ฆ้อนที่วางอยู่ใกล้ ๆ แสดงประกอบ) ส่วนหนึ่งอยู่ตรงนี้ ส่วนหนึ่งอยู่ตรงโน้น ท่านจับตรงกลางมันขึ้นเท่านี่น่ะ สองข้างมันก็ยกขึ้นเองของมัน
อุบาสก:
ครับ
หลวงพ่อ: ศึกษาพุทธศาสนานั่นน่ะ มันหมดที่จะสงสัยแล้ว ก็เลยหยุด ท่านได้ไปศึกษาศาสนาอื่น ๆ หรือเปล่า.....ศาสนาอื่น ๆ มันอยู่สองข้างนี้ ตรงนี้เป็นจุดกลางน๊ะ (หลวงพ่อหยิบไม้ฆ้อนที่วางอยู่ใกล้ ๆ แสดงประกอบคำอธิบาย คือตรงนี้ท่านเห็น ความว่า.....ไม่มีที่จะเพิ่มเข้าไปอีกแล้ว ไม่มีที่จะเอาออกไปอีกแล้ว..... ไอ้ความเข้าใจของท่านอย่างนั้น ท่านถึงตอบอย่างนี้ ถ้าได้ศึกษาพุทธศาสนาแล้วก็แล้ว.....เป็นอย่างนั้น อาตมาก็มีความรู้สึกเหมือนกันน๊ะ เรื่องคนนับถือพุทธศาสนา อย่างเมืองไทยเราน่ะ อย่างโยมที่ว่า.....อาตมาก็ฟังได้เหมือนกัน แต่พุทธศาสนาจะสมบูรณ์ทุกเรื่อง.....อันนี้ก็ฟังได้เหมือนกันน๊ะ ถึงอาตมาจะบอกไปว่า จะเอาฝรั่งมาฝึกหัดคนไทยน่ะ.....ไม่รู้เรื่อง.....เรื่องอะไรก็ไม่รู้ โยมศึกษาแต่เรื่องทางโลกทั้งหลาย มันก็เลยดีไปทางโลก รู้เรื่องของโลกไปซ๊ะ ไอ้เรื่องอันนี้.....แท้จริงน่ะ.....ไม่รู้จัก แต่เราอยู่ในกลุ่มพุทธศาสนาทั้งนั้นแหละ แต่เรื่องศาสนาที่แท้จริง ๆ นั้น เราไม่ค่อยจะรู้เรื่อง มันเป็นเสียอย่างนี้
อุบาสก: ถ้าหากว่าฝรั่งเขาถามผมว่า ศาสนาพุทธคืออะไรนี่ ผมจะตอบว่าอย่างไรครับท่าน
หลวงพ่อ: อันนี้.....โยมจะต้องไปศึกษาพุทธศาสนาเอาเอง อย่ามาเอาความรู้คนอื่นไปตอบเลย มันไม่ถูกหรอก
อุบาสก: ผมไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้นครับ.....ผมหมายความว่า.....สมมติเขาถามมาแบบง่าย ๆ ว่า.....พุทธศาสนาคืออะไร ?.....ท่าน.....ท่านพอจะ.....
หลวงพ่อ: ต๊าย.....อาตมามันไม่ได้ ไม่มีหร๊อก.....พุทธศาสนานี่คือ...... "ความที่ต้อง" เท่านั้นแหละ.... "สิ่งที่ถูกต้อง"
อุบาสิกา: เป็นความจริงใช่ไม๊ค๊ะ.....ความจริงที่ไม่มีใครค้านได้
หลวงพ่อ: จริงหรือไม่จริง.....ก็ที่มันถูกต้องนั่นน่ะ.....ทุกวันนี้ ถ้าเราทำถูก.....มันก็สบายกันทุกคน
อุบาสิกา: ค่ะ
หลวงพ่อ: มันไม่สบายเพราะทำไม่ถูก ทุกวันนี้ ตรงนั้นแหละ ๆ คำที่ว่า.....ที่ถูกต้องน่ะ มันสำคัญมากที่สุด
อุบาสิกา: นี่คลุมหมดเลย คำ นี้คลุมได้ทุกแง่เลย
อุบาสก: แล้วอริยสัจเล่าครับ ?
หลวงพ่อ: ไม่ต้อง.....ไม่ต้องออกชื่อมันหร๊อก ไอ้สิ่งที่มันที่ถูกต้อง คือความเป็นจริงนั่นน่ะ.....คือพุทธศาสนาล่ะ ถ้าเราไปถึงความเป็นจริงแล้ว จะไปถามอะไรอีกไม๊ ถ้าบอกเอาแก้วมา ก็ยกแก้วมาจะไปถามมันทำไม มันหมดปัญหาแล้ว ยกมาให้ดูแล้ว คือเห็นความจริง มันก็หมดแค่นั้นแหละไม่มีทางที่จะต้องไปแล้ว เราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ เท่านั้นแหละ
อุบาสก: คือผมไม่ใช่ว่า จะอยู่ที่ว่า.....เราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ คือว่า.....เราจะมีปัญญาเพียงพอหรือเปล่า ที่จะยอมรับ
หลวงพ่อ: นั่นแหละ.....ถ้ายอมรับ ก็ต้องมีปัญญาซี่ เอ้า.....คำที่ว่ารับ.....ไม่ใช่ไปรับปลอม ๆ รับอย่างแท้จริงซิ อย่ารับได้ รับเอาซิ อย่างฉันได้มาก.....มากของใช้ไม่ได้มาก ก็จริงอยู่ แต่ว่ามันไม่ดีนี่ จะทำยังไง มันเป็นปริมาณซ๊ะ มันมีคุณภาพอย่างนี้ อาตมาเคยพูดให้ญาติ - โยมฟัง ลูกศิษย์ลูกหานั่นแหละไปทั่วทิศ อย่างเราออกมานี่น่ะไปเรียนความรู้วิชาใช่ไม๊ เรียกว่าศาสตร์ มันหลายศาสตร์เหลือเกินทุกวันนี้น่ะ มันยัดศาสตร์เข้าไป จนจะนับไม่ไหวแล้วล่ะ แต่ว่าศาสตร์อะไรก็ตามเถอะ ถ้าไม่มารวมพุทธศาสตร์แล้ว.....วุ่นวาย.....นี่.....พุทธศาสตร์นี่เว้นจากอิจฉาพยาบาท.....เรียบร้อย.....เมตตา กรุณากันไม่มีทางที่จะไปแล้ว ไม่เห็นแก่ตัวแล้ว นี่.....พุทธศาสตร์ ศาสตร์อื่น ๆ มีความรู้ดีเหมือนกัน ถ้ามารวมพุทธศาสตร์นี่ มันดีหม๊ดทุกศาสตร์เลย ถ้าแยกออกจากพุทธศาสตร์ คือความจริงนี่แล้ว ก็เป็นศาสตร์ทะเลาะกันทั้งนั้นแหละ นี่.....มันเป็นเสียอย่างนั้น อาตมาถึงบอกว่า ไอ้ศาสตร์.....คือพุทธศาสตร์นี่ มันครอบแล้ว
อุบาสก: อ้า.....หลวงพ่อครับ อยากจะย้อนกลับไปถึงหลวงพี่ (หมายถึงท่านสุเมโธ) ครับ
หลวงพ่อ: เอา.....ได้
อุบาสก: อ้า.....หลวงพี่ไปถึงกรุงเทพ ฯ ปุ๊บน่ะฮ๊ะ ไปพบพระพบอะไรเข้า แล้วเกิดความเลื่อมใส แสดงว่าหลวงพี่ต้อง.....อ้า.....คล้าย ๆ ว่า.....
หลวงพ่อ: ยังไงก็เชื่อเอาเถ๊อะ.....ว่างั้นซ๊ะ ไปตะครุบเอาเลย ว่างั้นเถอะ
อุบาสก: นั่นแหละครับ ผมไม่เข้าใจว่า เรื่องอะไร ถึงไปปั๊บ ๆ .....
หลวงพ่อ: ใช่.....คือเรื่องนั้น ท่านไปเลื่อมใสเฉย ๆ เรื่องแท้จริง ท่านมาค้นคว้าทีหลังนี่.....ใช่ไม๊ ?
อุบาสก: (อีกคน) ไม่มีศรัทธาก่อน
หลวงพ่อ: ใช่.....มีศรัทธา.....ศรัทธาน่ะมันเชื่อ ไอ้ความเชื่อเฉย ๆ ตรงนั้น ก็เลยมาทำอย่างนี้ มาค้นคว้าอีก.....การบวช.....ปฏิบัติขึ้นมา มันรู้เรื่องตามเป็นจริงขึ้นมาทีหลัง ทับเข้าไปอีกทีหนึ่ง
อุบาสก: ตอนแรกอาจจะไม่สมบูรณ์น๊ะครับ
หลวงพ่อ: ใช่.....อย่างผลไม้น่ะ สีมันใส ๆ ก็ชอบมัน นึกว่ามันจะหวาน.....มันจะเปรี้ยวก็ได้.....อ้าว ไม่ใช่แล้วนี่
อุบาสก: ใช่ครับ.....
หลวงพ่อ: แต่ก็เลื่อมใสมันครั้งแรก ผลไม่ผลนี้ เป็นทางที่จะให้ค้นคว้าผลอื่นต่อไปอีก มันเลยได้ความจริงอย่างนั้น นี่เรียกว่า ครั้งแรกนี่.....เชื่อโดยศรัทธาอธิโมกข์.....ไม่มีปัญญา นี่ก็ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นมา เป็นศรัทธาที่ประกอบไปด้วยปัญญา ไม่มีทางหลีกเลี่ยงแล้ว จำเป็นจะต้องยอมรับ เพราะมันเป็นอย่างนั้น ศรัทธา.....ถ้าไปถึง เชื่อเลย จับมาดูเฉย ๆ แล้วเชื่อเลยว่าเป็นจริง.....มันมีศรัทธาเฉย ๆ ไม่มีปัญญา ยังไม่รู้เรื่องตามความจริงมัน อย่างผลไม้ นึกว่ามันจะหวาน เอามาทานดู.....มันเปรี้ยว.....อ้าว.....ไม่ใช่แล้ว ก็ทิ้งมันไป
อุบาสก: ครับ.....
หลวงพ่อ: ต้องหาผลไม้ใหม่มา ที่ไหนมันจะหวาน ให้มีปัญญาเกิดขึ้นมาเสียก่อน จึงเป็นความจริงของมันอย่างนั้น เป็นศรัทธาครั้งที่สอง ท่านให้มานั่งภาวนา.....พิจารณา พิเคราะห์ พิจารณาดีแล้ว มันไม่พ้นจากนี้ไป ก็มีความเชื่อครั้งที่สองขึ้นมา.....เอา ๆ ให้หมดน๊ะ
อุบาสก: อันนั้นผมพอจะเข้าใจแล้ว นอกจากหลวงพี่องค์นี้ มีคนค่างชาติ ต่างประเทศอื่น ที่เข้าไปบวชนี่มากไม๊ครับ ?
หลวงพ่อ: เยอะแยะไปที่วัดป่าพงน่ะ บาทหลวงก็มาบวชอยู่ที่นั่น.....เวลานี้
อุบาสก: โอเค.....แล้วบวชเป็นพระ.....พุทธน๊ะฮ๊ะ นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่ไหนมีครับ ?
หลวงพ่อ: หา.....คนบวชหรือคนที่จะมาบวช ?
อุบาสก: คนที่จะไปบวชได้ครับ
หลวงพ่อ: บวชที่ไหน ?
อุบาสก: ครับ.....นอกจากเมืองไทยแล้ว
หลวงพ่อ: ได้.....ใครจะมีศรัทธามาบวช.....ก็บวชได้ จะบวชในเมืองไทยก็ได้
อุบาสก: ไม่ใช่ครับ.....นอกจากผู้ที่จะบวชเป็นพระในเมืองไทยได้แล้วน๊ะฮ๊ะ ที่ประเทศอื่นมีที่ไหนบ้างครับ ?
หลวงพ่อ: ยัง.....ยัง ที่นี่ก็ได้ (หมายถึง อเมริกา) ต่อไปได้
อุบาสก: เปล่า.....ไม่ใช่ครับ พูดถึงว่า จะไปบวช ถ้าหากไม่บวชที่เมืองไทย ก็อาจจะบวชที่อินเดีย
หลวงพ่อ: ใช่ ๆ
อุบาสก: .....หรือที่ลังกา......
หลวงพ่อ: สถานที่บวช.....พูดถึงสถานที่บวช ศาสนานี่ มันมีอยู่ทุกแห่งทุกหนนั่นแหละ ถ้าเรามีศรัทธาบวชน๊ะ.....คำที่ว่าบวชน่ะ อย่างเมืองไทยเราน่ะ มันมีเถรวาท.....มีเถรสมาคม เป็นหลักพุทธศาสนา.....บวชก็ต้องมีสีมาน๊ะ ผูกสีมา ตั้งสีมาขึ้นจึงบวชได้ ตรงนี้ไม่มีสีมา จะบวชตรงไหนนี่
อุบาสก: ครับ....คำถามผมไม่ได้หมายความอย่างนั้น
หลวงพ่อ: เอา.....ยังไง.....เอาไปซี่
อุบาสก: อย่างสมมติเราจะไปเรียนหนังสือน๊ะครับ มีมหาวิทยาลัยดี ๆ อยู่ ๔-๕ แห่ง ถ้า.....คำถามผมว่า ทำไมถึงมาเลือกบวชในเมืองไทยมากกว่า ไปบวชที่ลังกา หรือมากกว่าไปบวชที่พม่า
หลวงพ่อ: ไอ้เมืองไทย.....ทำไมคนไทยมันมากกว่าฝรั่งล่ะ.....เพราะมันตั้งรกรากที่นั่นก่อนใช่ไม๊
อุบาสก: ผมไม่ได้หมายถึง.....
หลวงพ่อ: เปรียบเทียบซิ.....เปรียบเทียบ
อุบาสก: หมายถึงคนต่างประเทศที่ไปบวช ที่เมืองไทย
หลวงพ่อ: ใช่.....ไม่รู้เขาละอันนั้น เขาไปมีศรัทธาที่เมืองไทย เขาก็บวชในเมืองไทย รู้เรื่องของเขาไม่ได้ตรงนั้นน่ะ
อุบาสก: มันต้องมีเหตุผลน๊ะครับท่านครับ
หลวงพ่อ: มีซิ.....เขาถึงบวช.....อ้าว ทำไมจะไม่มี เขาก็ไปเมืองไทยมาก เขาไปสืบกับพระมาก เขาก็บวชตรงนั้นมาก ไอ้คนหนึ่งไป คนสองไป เพื่อน ๆ ของคน ๆ หนึ่ง มันมีกี่คนน๊ะ ไอ้คนนั้นไปก็ไปเยี่ยมกัน มันก็หลายขึ้นมาเท่านั้นแหละ เหตุผลมันเป็นอย่างนั้น
อุบาสก: ครับ ๆ
อุบาสิกา: แล้วอีกอย่าง ต้นรากเง่า ที่จะสั่งสอนอบรม ในการปฏิบัติธรรมะ.....ศาสนกิจ หรือทางวิปัสสนากรรมฐาน หรือสมาธิภาวนา.....อาจารย์ทั้งหลาย ก็อยู่ที่นั่น
หลวงพ่อ: ใช่ ๆ.....เข้าใจแล้วละ โยมถามว่า ทำไม่ถึงไปบวชเมืองไทยหลาย คือเมืองไทย ไม่รู้จักมันเป็นอะไรล่ะน๊ะ คือคนไปเที่ยวเมืองไทย จุดแรกก็คือมีใครสักคนหนึ่ง มาจากเมืองนอกเป็นฝรั่งเมืองใดก็ตามเถอะ เข้าไปบวชตรงนั้น ก็ได้ความเห็นชัดขึ้นมาน๊ะ ไอ้เพื่อนของคน ๆ นี้มันมีกี่คน ก็ไปเยี่ยมบอกกันไปเรื่อย ๆ ไป อย่างวัดป่าพง ครั้งแรกที่ท่านสุเมโธองค์เดียวนี่ เดี๋ยวนี้รับไม่ไหวเลย.....หลาย แต่ไม่ได้หมดทุกคนน๊ะ.....เลือกเอา บางทีมันก็มีศรัทธามีความเห็น.....มันก็เอาได้มาก บางคนก็มาบวชศึกษา ๕ พรรษา ๒ พรรษาสึกก็มี แต่ว่า.....เขาศึกษาต่างจากคนไทยเรา ศึกษาพุทธศาสนานี้ อย่างอาตมาไปว่า ต้นไม้มันหลายร้อยปีมาแล้วน๊ะ ลูกมันก็ไม่ค่อยมาก.....แต่อ้วน.....เหลือแต่กิ่งที่มันตายน๊ะ มันพังลงมา.....ให้เรากวาดมัน
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: อย่างเมืองไทยเราเหมือนกัน บวชเดี๋ยวนี้ ๑๕ วัน ๗ วัน เท่านั้นแหละ.....ไม่รู้เรื่องอะไร
อุบาสก: เรียกว่าบวชเป็นพิธี
หลวงพ่อ: นั่นแหละ บวชเป็นพิธี อันนั้นเขาไม่ใช่อย่างนั้นนี่ อาตมานี่ให้บวชอย่างน้อย ต้องอยู่ด้วย ๕ พรรษา ที่จะมาเป็นนาคนี่ ต้องพรรษา หรือสองพรรษา ทรมานให้หนักกว่าคนไทยอีก มันถึงเห็นชัด
อุบาสก: แต่ผมว่า.....ถ้าเผื่อหลวงพ่อพูดว่า ทุกคนบวชกันเพียง ๑๕ วันน๊ะฮ๊ะ
หลวงพ่อ: อ้า.....ใช่
อุบาสก: สมมติว่าผู้ชายไทยทุกคน จะบวชกัน ๔-๕ พรรษา เราเลยไม่ต้องทำอะไรกันเลย เป็นพระกันหมดถูกไหมครับ
หลวงพ่อ: มันหมดไม่ได้.....อันนั้นสมมติที่เป็นไปไม่ได้
อุบาสก: แต่มันก็เป็นไปได้ บางคน ๗ วัน บางคน ๓ เดือน ถ้าเผื่อทุกคนบวชไปได้ คนละ ๔ - ๕ พรรษา หมดก็ดี.....
หลวงพ่อ: ทำไม ?
อุบาสิกา: กลัวจะไม่มีคนทำงานให้ประเทศชาติ ใช่ไหมค๊ะ ?
อุบาสก: .....(หัวเราะ)
หลวงพ่อ: อย่าไปกลัวเลย.....ไอ้ไส้เดือนมันกลัวดินจะหมด.....(ทั้งกลุ่มหัวเราะชอบใจ) เราอย่าไปคิดอย่านั้นซิเอ้อ.....ไปคิดแบบนั้นน่ะแบบนกกระสา ไส้เดือนนี่มันเป็นอย่างนั้น อันนี้สมมติไปตัดบทมัน ไอ้ความเป็นจริง เป็นไปไม่ได้อย่างนั้น อย่างอาตมาไปสั่งสอนให้โยมเชื่อ อาตมาก็ทำไม่หมดหรอก ผลที่สุดก็ย้อนไป ๆ หาได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น แต่ว่าเหตุผลอาตมาที่ว่า ถ้าบวช ๗ วัน ๑๕ วัน ทุกคนจะเป็นยังไง.....มันจะดีไม๊ ?...... ใครจะมาสอนศีลธรรมให้กันอีกล่ะ.....อย่างนี้.....มันก็คนละแง่ซิ มันเป็นไปไม่ได้ บวช ๑๐ วัน ๑๕ วัน ทุกคนไม่ได้ บวชจนตายก็มี ๕ ปี ๖ ปีก็มี ๖ วัน ๗ วันก็มี มันเป็นเรื่องของธรรมดาอย่างนั้น ไอ้ความคิดเช่นนั้นมันความคิดของไส้เดือนนี่..... (พวกโยมหัวเราะ) จำไว้.....เป็นอย่างนั้นทีก่อนอาตมาเคยมาเมืองนอก มากรุงลอนดอนครั้งหนึ่งน๊ะ พวก บี.บี.ซี. เขาไปสัมภาษณ์ ถ่ายทำเป็นหนังออกมา.....สารพัดอย่าง เขาสัมภาษณ์แล้วพอใจต่อนั้นมา ก็มีพวกฝรั่ง เข้ามาบวชเรื่อย ๆ ตลอดมา ไอ้ความเป็นจริงคือว่า.....เขายังไม่เคยเห็นการทำอย่างนี้
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: เขาก็อยากจะไปดู.....ไปทำกัน ไปดู.....ไปทำแล้ว มันก็แปลก.....อย่างนี้ ไม่ใช่ได้หมดทุกคนน๊ะ มันเป็นไปอย่างนั้น เรื่องของศาสนานี่
อุบาสก: ผมมีความสนใจครับ แต่ว่า.....ศรัทธาผมอาจจะไม่แรงเหมือน.....
หลวงพ่อ: เออ.......เอามันไว้นั่นก่อน ศรัทธาอย่าเอามาไว้ในนี้เลย
อุบาสก: ศรัทธาผมมีน๊ะฮ๊ะ แล้วผม......พยายามใช้ชีวิตที่ว่า.....ในทางที่ถูกน๊ะฮ๊ะ หรืออาจจะผิดหวังนิดหน่อยน๊ะครับ
หลวงพ่อ: ไม่เป็นไร.....มันมีผิดถูก สลับกันไปหล่ะ มันมีเปรี้ยวอย่างเดียว มันไม่อร่อยหรอก ให้มันมีเปรี้ยว....มีหวานสลับกันไป
อุบาสก: จะให้ทำให้ถูกอย่างหลวงพ่อ หรือหลวงพี่นี่ ผมคงอาจจะ.....ยังมีปัญญาไม่ถึงครับ
หลวงพ่อ: ใช่.....ก็อยู่ไปซิ ใครจะเฝ้าบ้านล่ะ ถ้าไปหมด เราก็อยู่เฝ้าบ้านซ๊ะคนซิ.....(ทั้งกลุ่มหัวเราะ) แต่กวาดบ้านให้ดี ๆ น๊ะ ทำบ้านให้สะอาดน๊ะ อย่าอยู่เฉย ๆ.....เฝ้าบ้านน่ะ
อุบาสิกา: คำว่า "สะอาด" นี่ลึกซึ้งมากเลยล่ะ
อุบาสก: ครับ ๆ
หลวงพ่อ: เอาซิ.....วันนี้ตั้งใจมาแล้ว ไม่มีเวลานาน จะแก้ความสงสัยลูกหลานเรานี่แหละ ให้ปรึกษากันไม่ใช่ว่าสนทนาเรื่องใด เรื่องพุทธศาสนานี้ก็เรียกว่า.....พวกเรามันอยู่กันนาน แต่ว่าไม่พูดถึงโยมผู้ปฏิบัติศาสนา เลยมันตายไป.....เลยจะไม่ได้เห็นอะไรเลยก็มี ก็เพราะไม่ได้ศึกษาอย่างแม้จริง ฉะนั้นอาตมาก็จะรายงานให้ญาติโยมทราบซักหน่อยนึง อาตมานี้ไม่ได้เรียนอะไรหรอกเรียนเรื่องธรรมชาติ.....เรื่องจิตใจ บวชเข้ามาแล้ว ก็อยู่ไปไม่กี่พรรษา แล้วก็ออกป่าตั้งแต่คราวท่านอาจารย์มั่นยังอยู่ ถึงนี้แหละ ศึกษาพุทธศาสนาตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ เป็นเด็กอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่รู้เขาไปอะไรกัน ก็ไปกับเขา คลุกคลีอยู่กับพระเจ้าพระสงฆ์
อุบาสก: โดยที่ไม่รู้จักอะไร ?
หลวงพ่อ: ใช่ ๆ......มันมีศรัทธาอย่างว่าแหละ ศรัทธาอย่างโยมว่า
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: ศรัทธาอยากเข้าไปอยุ่วัด
อุบาสก: แต่ไม่รู้ว่าอยู่เพราะอะไร
หลวงพ่อ: ไม่รู้เพราะอะไร.....นี่มันเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องสงสัยมันแล้วทีนี้ คนเรา.....ถ้าเราไปศึกษาดูน๊ะอย่างเช่นเราน่ะ ให้อาหารมันทุกวัน ๆ มันก็โตขึ้นทุกวันน่ะแหละ จนถึงที่มันทุกวันนี้ เกิดมาครั้งแรก ไม่โตถึงนี้หรอก แต่ให้อาหารมันทุกวัน มันถึงโตขึ้นมาถึงบัดนี้ เราเข้าไปสั่งสมในที่อะไร มันก็ค่อย ๆ เข้าใจขึ้นมา มันก็เปลี่ยน ๆๆๆ นี่.....อย่างเด็ก ๆ เราเกิดมาชอบเล่นอย่างหนึ่ง โตมาขนาดนี้ อยากเล่นอย่างเด็กมันเล่นไม๊
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: ไม่อยากเล่นอย่างเด็กมันเล่น ไม่มีประโยชน์ แต่เราจะไปพูดกับเด็กว่า แหม.....ทำอย่างนี้ไม่มีประโยชน์ มันเกลียดเอาเลยน๊ะ อย่างนี้ ทำไมเราเป็นเด็กถึงชอบอย่างนั้น พอมันเปลี่ยนแล้ว ทำไมมันไม่เป็นอย่างนั้น นี่.....มันเป็นอย่างนี้ คือธรรมชาติเราได้เสพสมมา มันเป็นอย่างนี้ นี่ท่านเรียกว่าธรรมชาติของมัน
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: อาตมาให้โอกาสถาม ญาติโยมเรานี่ ไม่ได้เอาอะไรมาพูดให้ฟัง เอาความจริงมาพูดให้ฟัง
อุบาสก: ครับ ๆ ผมมีปัญหาถามหลวงพ่อ ๆ
หลวงพ่อ: เอ้ามี......เดี๋ยวมันจะหมดเวลา......
อุบาสก: อย่างนั่งกรรมฐานนี่ นั่งอย่างไรครับ ? ผมคิดว่าพวกเราหลายคน ที่อยากจะนั่งเหมือนกัน
หลวงพ่อ: ใช่......
อุบาสก: แล้วผมอยากจะให้ท่านพูดถึง ผลประโยชน์ ทั้งในร่างกาย และจิตใจ ขอโอกาสนมัสการ..... และวิธีทำด้วยครับ
หลวงพ่อ: วิธีทำก็ได้ ถ้าโยมจะทำก็ไม่ยาก ขอแต่มีใครขอได้ทั้งนั้น กลัวแต่จะไม่มีคนเอาเท่านั้นแหละ (พวกโยมหัวเราะ)
อุบาสก: ทำไมท่านไปคิดอย่างนั้นล่ะครับ....ผมจะยอมรับหมด
หลวงพ่อ: ใช่....ก็พูดให้ฟังนี่ จะทำยังไง เรื่องนี้....เรื่องพระน่ะ ไม่ใช่มีอะไรโดยตรงเป็นอย่างอื่นน๊ะ เรื่องที่สั่งสอนตัวเจ้าของนั้นน่ะ สั่งสอนประชาชนทั้งหลาย ที่อุปการะพระมาทุกวันนี้ไม่มีเรื่องอื่นจะกอบโกยไปที่ไหน ไม่มีแล้ว เอาเฉพาะความเป็นอยู่ แล้วก็สงเคราะห์คนอื่นเท่านั้น เรื่องพุทธศาสนานี้ก็เรื่อง ศีลน่ะ.....เรื่องศีล กฎของมันน๊ะ เรื่องสมาธิ.....เรื่องปัญญาเท่านี้ เรื่องศีลเรื่องธรรมนี้ก็เพื่อ ให้เราทั้งหลายไม่มีความเดือดร้อนวุ่นวาย สมมติน๊ะ หมายความว่าอย่างนั้น อย่าไปว่า ทำไมมันวุ่นวาย อย่าไปว่าให้มันน๊ะ ข้อที่สอง.....ความไม่วุ่นวายเกิดขึ้น ความสงบก็เกิดขึ้นมา.....คือสมาธิ เมื่อความสงบเกิดขึ้นมาแล้ว ความสะอาดมันก็มี ปัญญาก็เกิดครอบเลย ที่นี้มาพูดถึงการ กระทำ มันกระทำยากสักหน่อยหนึ่งน๊ะ ยากหน่อย แต่ยากมันก็ไม่เป็นอะไรหรอกยากมันถูกของดีมันน่ะ มันต้องยากก่อน มันจึงเห็นทุกข์ ถ้าคนไม่ทุกข์ มันไม่ลืมตามหรอกถ้ามันมีแต่สุขแล้ว มันหลับสนิททั้งนั้นแหละ ทุกข์นี่มันทำให้มีความคิด ขยายตัวขึ้นมามาก ทุกข์มันเกิดมาเพราะอะไร จะต้องรู้มันอีก ไม่ใช่ว่านั่งให้มันหมดทุกข์เฉย ๆ น๊ะ บัดนี้ฉันหนักแล้ว มันหนักเพราะอะไร เพราะยกแก้วนี่ขึ้นมา มันถึงหนัก ถ้าปล่อยไว้ เฉย ๆ แก้วนี่มันไม่หนัก....หนัก.....แต่ไม่ปรากฏแก่เรา เพระาเราไม่ไปสัมพันธ์กับมัน มันก็ไม่หนักนี่.....เรื่องทุกข์มันเป็นอย่างนั้น เราทำไมถึงหนัก เพราะเรายกแล้วขึ้นมา ทำไมมันถึงทุกข์ ? ......เราไปจับทุกข์มาไว้ แต่เราไม่เข้าใจว่าทุกข์น่ะ.....ว่าทุกข์นั้นมันเป็นของประเสริฐ ทุกข์นั้นจะเป็นของดี ให้วาง......ก็วางไม่ได้ ให้ปล่อย.......ก็ปล่อยไม่ได้ ก็หมักอยู่อย่างนั้นน่ะ ทุกข์ก็ทุกข์อย่างนั้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนว่า ให้รู้จักทุกข์ ที่ไปยึดขึ้นมานี่ หมายความว่า ไปหมายมั่นมันจนเกินไป ไม่วางมัน... อย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านสอน อะไรก็ให้รู้จัก เช่นว่า อันนี้ไม่ใช่เรา อันนี้ ถ้าไม่หนักแล้วไม่สบายนี่.....มันหนัก.......ทั้งดิ้น......ทั้งรน อันนั้นมันหนัก ก็พยายามจะไปโกยเอานี่น่ะ คำที่ว่าท่านให้วาง ก็ว่า อื้อ......ผมก็ไม่ต้องทำมาหากินซิ ไม่ใช่อย่างนั้นอีกไม่ใช่ให้ทำมาหากินอีกแหละ ให้ขยันขึ้นในทางที่ชอบ ไม่ใช่ให้เกียจคร้าน ให้ขยันให้สะสมอันนี้ แต่ว่าให้รู้จักวัตถุอันนี้ วัตถุอันนี้ไม่ใช่อาหารสำหรับใส่น้ำมาดื่มเท่านั้น อย่าไปดื่มทั้งแก้วน๊ะ ถ้าดื่มทั้งแก้วมันเป็นทุกข์ ใช่ไหมนี่ ?
อุบาสก: ใช่ครับ
หลวงพ่อ: นี่มันไม่ใช่ของเรา แต่เอาไว้ใช้รักษาไว้ให้ดีเพื่อจะได้ใช้ แต่เราเข้าใจว่าไม่ใช่ของเราแต่รักษามันไว้ เมื่อถึงคราวมันแต่แล้วก็แตกไป.....อย่างนี้ ต้องให้สัมพันธ์กัน ต้องรู้จักอันนี้อยู่ มันเป็นเรื่องที่พูดยาก แต่คนเราพอว่าสัมพันธ์กัน ก็นึกว่าของเรา ไปมั่นไปหมายมันจนเกิดความทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา แต่เราไปเข้าใจว่าของเราทุกข์จึงเกิดขึ้นมา มันถึงเป็นของหนักอย่างนี้ ให้รู้จักอย่างนี้ แต่จะต้องเอาไปพิจารณาถึงจะได้ จะต้องไปวิจัยหาเหตุผลของมัน ดังนั้นท่านจึงให้นั่งสมาธิ นั่งสมาธินี่เราไปนั่ง ได้คนศึกษาทางโลกก็ว่า.....ฉันไม่นั่งหรอกไปนั่งหลับตาทำไมอยู่นั่น ลืมตามันก็ยังไม่เห็น (มีเสียงหัวเราะชอบใจ) มันว่าไปอย่างนั้นอีกซ๊ะแล้ว เรามองซิ......เมืองไทยเห็นไม๊ เรานั่งหลับตาถึงไม๊.....นี่มันเรื่องทางนี้ ทางจิตนี่เห็นขนาดนั้น......ไปนั่งจะเกิดประโยชน์อะไร ก็เห็นว่านั่งไม่เกิดประโยชน์ ไปนั่งแผล๊บเดียวก็ง่วงแล้ว คือไม่รู้จักเรื่องของมัน ไอ้ความเป็นจริงน่ะ ตาของคนเราท่านแยกเป็น ๒ อย่าง ตาเนื้ออันหนึ่ง....ตาปัญญาอันหนึ่ง ตาปัญญาเห็นถึงความจริง ควรโศก ไม่โศก ควรดิ้นรน ไม่ดิ้นรน เพราะเห็นตามความเป็นจริงมัน เช่น ว่าแก้วใบนี้มันแตก เราเสียดายมันเหลือเกินน๊ะ.....เสียใจ.....เพราะตาในคุณยังไม่มี ถ้ามีตาในแก้วใบนี้มันจะดี คุณจะเห็นว่าแก้วใบนี้มันแตกแล้ว (หลวงพ่อพูดพร้อมกับใช้นิ้วเคาะแก้ว) และคุณจะต้องใช้แก้วแตกทุกวันทุกเวลา กางเกงตัวนี้มันก็ผุแล้ว เสื้อนี่มันก็ผุอยู่แล้ว เห็นชัดแล้วอย่างนี้ แก้วใบนี้ถึงแม้ว่ามันถืออยู่อย่างนี้ ก็เห็นว่ามันแตกแล้ว ทำไมถึงเห็นว่ามันแตกก็เห็นที่มันไม่แตกนี่แหละ มันจึงบอกว่าแตก มันมีอยู่อย่างนี้ ถ้าหากว่าเรารู้อย่างนี้ทุกอย่างแก้วใบนี้เราก็ใช้ไปโดยทางที่มีปัญญา เราใช้ไป มันจะแตกเพล๊าะลงไปก็ว่า อือ.....มันเป็นอย่างนั้นของมันน่ะ....ทุกข์ไม่มี.....ปัญหาไม่เกิด เพราะว่าเห็นมันเป็นอย่างนั้นแล้ว......นี่......แม้ถึงหนึกไปกว่านั้นอีก อย่างคุณป่วยน่ะ ดูตัวคนจริง ๆ ของเรา.....อันนี้เสียดาย ถ้าคุณป่วยทุกข์ขึ้นมา ถ้าเข้าโรงพยาบาล คุณจะนึกว่า.....โอ.....แหมหายซ๊ะเกิดพ่อคุณให้หายเถิด พระท่านไม่ว่าอย่างนั้น ท่านไม่เห็นหน้าเดียว ท่านว่าหายก็เอา ไม่หายก็เอา นี่ท่านเห็นอย่างนี้เห็นทางที่ไม่ต้องทุกข์ ถ้าไม่หายก็ให้มันไม่หาย ถ้ามันหายก็ให้มันหายไป ถ้าเราอยากให้มันหายไปอย่างเดียว ถ้าเหตุที่มันไม่หายมี ก็ร้องไห้เท่านั้แหละ คือเหตุมันยังเหลืออยู่อย่างนั้น เชื้อมันยังมีอยู่ ธรรมะท่านสอนไว้ข้างในโน้น
อุบาสก: ท่านหมายถึงว่าถ้าเผื่อเราไปทำอะไร ทำดีที่สุดแล้ว มันเกิดแค่นี้ก็ให้พอใจแค่นั้นใช่ไหมครับ
หลวงพ่อ: ใช่.....ก็มันสุดแล้วจะทำยังไงอีกล่ะ
อุบาสก: อันนี้ถ้าสรุปแล้วหมายความว่า เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการตาม
หลวงพ่อ: ใช่.....มันเป็นอย่างนั้น ของมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ที่เราทุกข์อยู่นั้นเพราะอะไรน๊ะ อย่างคุณสองคนนี่น่ะ เดินไปเห็นสัตว์สองอย่าง เปรียบเทียบน๊ะธรรมะต้องเปรียบเทียบ อักตัวหนึ่งเป็นเป็ด อีกตัวหนึ่งเป็นไก่ คุณสองคนนี้จะเห็น ไอ้เป็นทำไมไม่เหมือนไก่น๊ะ มันน่าจะเหมือนกันไก่กับเป็ดนี่ คิดจะให้มันเหมือนกันอย่างนั้น นอนก็คิดอย่างนั้น เดินก็คิดอย่างนั้น คิดอยากให้ไก่เหมือนกับเป็ด จะให้เป็ดเหมือนกับไก่ คุณจะทุกข์จนตลอดเวลาเลย ถ้าคุณคิดว่า อือ.....ไอ้เรื่องเป็ดก็ให้เป็นอย่างนั้นน่ะ เรื่อไก่ก็ให้มันเป็นอย่างนั้นของมัน มันเป็นอย่างนั้นแล้ว ปัญหาก็ไม่มี
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: ปัญหามันก็หมดไปอย่างนั้น ไม่ได้ผูกไว้ นี่คือเห็นตามความจริงมันอย่างนั้น
อุบาสก: ใช่.....ท่านครับไอ้ข้อนี้ครับ ผมยังไม่เข้าใจ
หลวงพ่อ: เอ้าเอาให้มันเข้าใจ ไม่เข้าใจอย่างไร
อุบาสก: เราเห็นไปตามเท่าที่เห็นน๊ะฮ๊ะว่า อย่างเมืองไทยน๊ะครับสิ่งที่ว่า.....(ช่วงนี้เทปขาดตอนไป).....อันนี้ผมยังเข้าใจผิด
หลวงพ่อ: ให้เข้าใจถูกซิ เป็นไข้ก็ต้องกินยาไปก่อนซิ หรือจะไม่กินเลย
อุบาสก: ต้องกินไปก่อน
หลวงพ่อ: นั่น.....เรื่องโลกต้องเป็นอย่างนั้น มันไข้ก็ต้องกินยาไปก่อน ไปกินแล้วจะหายให้หายทุกคนอย่าเพิ่งเข้าใจขนาดนั้น บางคนหาย บางคนไม่หายก็มี ต้องเข้าใจไปแบบนี้ อันนั้นมันเรื่องหลักของธรรมชาติ มันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ไม่ให้ตัดออกอย่างนั้น ทีนี้ไอ้บ้านเมืองเราทำไมมันไม่ค่อยปรับปรุงกันยังงั้นเหรอ.....จะไปปรับปรุงมันทำไม.....ยังงั้นเหรอ
อุบาสก: ครับ ในเมื่อเราเกิดมาไม่กี่ปีเราก็ตายไปแล้ว แล้วเรื่องอะไร.......
หลวงพ่อ: ไม่ใช่อย่างนั้น ๆๆๆ ถ้าเราเข้าใจในพุทธศาสนา ความคิดเช่นนั้นไม่มี คนขยันถึงแก่ขนาดไหน เป็นต้น ก็ยังกวาดบ้านได้ดีทั้งนั้นแหละ มันเป็นนิสัย ลูกเศรษฐี.....คนเศรษฐีแล้วจึงรักษาอะไรมั่นคง ไม่เหมือนคนขี้เกียจ คนขี้เกียจคือคนทุกข์ ไอ้คนที่ขยันมันเป็นสันดานอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องขยันจนแก่ ต้องระมัดระวังอยู่อย่างนี้ เป็นสันดานอย่างนั้น ถ้าพุทธศาสนาไม่ใช่เของเรา ๆ อย่างนั้น ไม่ต้องทำอะไรมัน.....อันนี้มันไม่ใช่ความคิดของพุทธศาสนา มันก็คิดไปแขนงหนึ่ง
อุบาสก: อ๋อ.....ไม่ใช่ใช่ไหมครับ
หลวงพ่อ: ไม่ใช่ ๆ แต่ว่าให้หามันมากก็ได้ แต่ว่าเราอย่าให้มันทุกข์กับอันนี้ อย่าให้มันพาเราทุกข์ แต่ให้เราใช้อันนี้อยู่ แต่อย่าให้อันนี้พาให้เราทุกข์ อย่าเป็นทาสของสิ่งนี้ เราหามันมากก็เป็นทาสมันพอแรงแล้ว มันจะแตกจะหัก ก็ยังจะทุกข์กับมันอีก จะเอาดีเมื่อไหร่ล่ะเรา
อุบาสก: ไม่ยึดมั่น.....ให้วาง
หลวงพ่อ: เอ้อ.....นี่เรื่องจิตน๊ะ ให้คุณแยกออกเป็นเรื่องจิตน๊ะ
อุบาสก: อย่ามัวเมายึดมั่นในสิ่งทั้งหลาย อ้า.....ผมได้อ่านบทความของพุทธทาสภิกขุน๊ะฮ๊ะว่า อย่านึกว่ายึดมั่นว่าเป็นของเรา ท่านพูดแบบนั้น คำว่ากู.....ของกู แล้วก็อย่ายึดมั่นในนั้นน่ะ ท่านหมายความว่ายังไงครับ
หลวงพ่อ: นี่แหละ ๆๆ คือกูนั้นมันไม่มี ไม่ใช่ว่าแต่ของมัน ตัวเรานี้ก็ไม่มี กูนี้ท่านหมายถึงเรา ยึดท่านหมายความว่าของนี้ นี่มันเป็นทางให้เราเกิดทุกข์ ถ้าหากว่ามันมีกู มันมีโดยฐานที่สมมติอันนี้คงยังพูดไม่เข้าใจกัน คนหนึ่งพูดไปข้างล่าง คนหนึ่งพูดไปข้างบนนี่ มันเรื่องจิตเรื่องความเป็นจริง กับเรื่องธรรมดานี้ มันพูดยากที่จะเข้าใจกัน พูดอันเดียวกันแต่ไม่เข้ากัน
อุบาสก: ใช่.....อันนี้ผมว่า เป็นธรรมดาของโลก
หลวงพ่อ: ใช่
อุบาสก: (อีกคน) คือผมพอจะเข้าใจแล้วครับ คือเราต้องพยายามไปหาเงินมาซื้อแก้ว เพื่อไว้ใช้แต่เราไม่ได้เป็นทาสของแก้ว
หลวงพ่อ: น่านยังงั้น
อุบาสก: (อีกคน) แต่เมื่อรู้ว่าแก้วแตกแล้ว ไม่หมายความว่าเราจะไม่ซื้อ......เราต้องไปหามาเพื่อใช้
หลวงพ่อ: ใช่......แต่ให้รู้ในนี้อีกต่อไป ให้รู้อย่างนั้นอีกต่อไป ไม่ใช่ว่าไม่ให้แก้วมี
อุบาสก: อ้อ
หลวงพ่อ: ที่ว่าของเรานี้ ให้พูดอยู่เสมอว่าของเรา โดยฐานที่สมมติต้องเป็นเรา เช่นว่าชื่อนี่ไม่ตรงกับทุกคนน๊ะ
อุบาสก: ท่านครับสมมติว่า.....โอเค.....เราเกิดมาไม่กี่ปีน๊ะฮ๊ะ มีชีวิตอยู่ไม่นาน แล้วเรื่องอะไรเราไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย แล้วเรื่องอะไรเรามามัวทำมาหากินสร้างทรัพย์สมบัติไปให้
หลวงพ่อ: ก็นั่นซีท่านถึงว่า.......สร้างก็อย่าให้ทุกข์ซิ ท่านไม่ให้ทุกข์เท่านั้น อยากสร้างก็ได้.....แต่อย่าให้ทุกข์ คนทุกคนสร้างไว้ให้ใครมีไม๊ ?
อุบาสิกา: ก็ไม่ต้องไปคิดว่าให้ตัวเราอยู่
หลวงพ่อ: ใช่.....ท่านพูดความจริง
อุบาสิกา: สมมติว่า คิดแบบนั้นน๊ะครับ แล้วเราจะสร้างประเทศชาติให้เจริญอย่างไรครับ ..........ถ้าเรานึกว่าไม่ใช่ของเรา.....เราสร้างไว้ทำไม.....ในเมื่อไม่กี่ปีเราก็ตายไปแล้ว
หลวงพ่อ: นี่ ๆ ใครสร้างนี่....ใครเป็นคนสร้างนี่ (หลวงพ่อชี้ให้ดูตัวอาคาร) คนสร้างได้อะไรไม๊นี่ ทีนี้พระพุทธองค์ท่านไม่สอนอย่างนั้น ท่านไม่สอนให้เป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างนั้น อย่างแก้วนี้เรามีสตางค์เราก็ซื้อไว้หลาย ๆ เถอะ เพื่อนเรามาคนละใบ ๆ ได้ใช้ดื่มน้ำก็ได้ ไม่ใช่ว่าไม่ให้มีไม่ใช่ว่าหามาไว้ทำไม มีมากก็ได้ แต่เราอย่าให้มันเป็นทุกข์ คือรู้จักแก้วทุก ๆ ใบเท่านั้น
อุบาสก: ครับ.....ยังงั้นผมพอจะเข้าใจ.....เราสร้างได้.....พยายามสร้าง หมายถึงว่าสร้างในสิ่งที่มันถูกทางหรือยังไงครับ ?
หลวงพ่อ: ใช่.....คือเรื่องถูกทาง ไม่ถูกทางนั้นน่ะ ถึงแม้ว่าคุณจะเอาเงินทองของคุณมาทุ่มเทสร้างขึ้นก็ถูกทางของคุณน๊ะ แต่ว่า....เมื่อบ้านมันจะพังเมื่อใดน่ะ มันก็ยังเป็นของคุณอยู่ มันจะทุกข์อีกจะลำบากอีก ถ้าไฟมาไหม้ก็ลำบาก ให้รู้ไว้อย่างนี้ จะสร้างก็ได้ ถึงคุณจะว่าให้เป็นของคุณก็จริงหรอก.....แต่ว่าผลที่สุด มันก็ไม่เป็นอยู่แล้ว ท่านบอกไปก่อนว่า มันไม่ใช่ของคุณ ถ้าหากว่าเป็นของคุณอย่างแน่นอน คุณจะยิ่งเป็นบ้า หลงไปยิ่งกว่านั้นอีก ขนาดท่านว่าอันนี้ไม่ใช่ของคุณน๊ะ......ระวังน๊ะ.....มันเป็นสมบัติอย่างนี้ ขนาดนี้เรายังตะกายจะไปฮุปไว้ให้มาก ไม่ใช่แต่เท่านั้นยังทะเลาะกันอีก.....ยังปล้นกันอีก.....ของไม่ใช่ของใครซักคนเลย.....เท่านั้นแหละ.....ให้มันเบาทุกข์ลงไปเท่านั้น ให้รู้จักละวางในทางพุทธศาสนานี่ มันก็ถูกของท่านน๊ะ ท่านก็ไม่บังคับให้เราสร้างน๊ะ ใครบังคับให้เราสร้าง.....บ้านเรานี่น่ะ....ความอยากที่มันเกิดขึ้นตรงนั้นเอง
อุบาสก: ไอ้ความอยากนี่ครับ ที่ผมสงสัยว่า มันเป็นความที่เรียกว่า......แบบที่เรามีความอยากกัน ใช่ไม๊ครับ? ........มันเป็นความ........
หลวงพ่อ: ถ้าเรามีปัญญาในความอยากนั้นมันก็ดี ถ้ามันโง่มันก็ไม่ดี คนรวยมันดีหรือเปล่า ? กับคนจนใครมันดีกว่ากัน เอ๊า....จะถามคุณยังงี้แหละ ?
อุบาสก: ท่านถามว่ายังไงครับ ?
หลวงพ่อ: คนรวยกับคนจนใครดีกว่ากัน ?
อุบาสก: มัน.....มันต้องถามว่า......ดีแบบไหนด้วยครับ
หลวงพ่อ: แบบไหนล่ะ.....แบบมันดีน่ะแหละ (พวกโยมหัวเราะชอบใจ) ดีถึงที่สุดมันน่ะแหละ เอาดีอะไรก็เอาแหละ
อุบาสก: ผม.....คนดีหรือคนรวยดีกว่ากันเหรอฮ๊ะ.......คนจนกับคนรวย ?
หลวงพ่อ: คนจนกับคนรวย
อุบาสก: ผมว่าก็ดีทั้งสองฝ่าย
หลวงพ่อ: คนรวยเคยมีทุกข์ไม๊ ?
อุบาสก: ทั้งสองฝ่ายมีทุกข์ครับ
หลวงพ่อ: แน่ะ.....นี่แหละ มันก็เสมอกันอย่างนั้นใช่ไม๊ ?
อุบาสก: แต่ผมว่า....ไอ้คำว่า....ดีกว่ากันนี่ มันไม่มีใครดีกว่ากัน
หลวงพ่อ: ใช่.....มันเสมอกันอย่างนั้น นี่พูดถึงที่สุดมัน ถ้าคุณมีบ้านหลังใหญ่ ก็ว่าบ้านของคุณแหละดีกว่าเขาแต่ถ้ามันพัง.......มันก็พังใหญ่น๊ะ (ทั้งกลุ่มหัวเราะชอบใจ) ถ้าน้ำท่วมก็ท่วมหลังใหญ่น๊ะมันเป็นอย่างนี้ มันเป็นบริกรรมอย่างนั้น ให้เราเข้าใจอย่างนั้น
อุบาสก: ผมไม่แน่ใจว่า ผมเข้าใจอย่างนั้นหรือเปล่า ?
หลวงพ่อ: ทีนี้ในเวลานี้ ยังไม่เข้าใจ ให้ได้ยินไว้ คุณก็ยังไม่เข้าใจ ให้ได้ยินไว้เถอะ แต่ว่าที่พูดให้ฟังอย่าเชื่อ.....อย่าไม่เชื่อ....ให้ฟัง แต่ฟังไว้เฉย ๆ ฟังได้ ดูด้วยเหตุการณ์ของมันจะเป็นยังไง คุณจะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า....เรื่อย ๆ มันเป็นยังไง ให้สังเกตไปเรื่อย ๆ น๊ะ มันเป็นเช่นนั้น เราจะเห็นว่ากิ้งกือ แหม.....มันมีขามาก มันจะวิ่งเร็วน๊ะ...ไก่มันแคงขา...มันวิ่งช้า ๆ
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: ที่ว่าอย่างนี้ อาตมาจะบอกให้ง่าย ๆ ว่าถ้าความสงสัยอย่างนี้มีอยู่น๊ะ.....ถ้าคุณจะไปเที่ยวถามให้หายสงสัยนั่น ตายก็ไม่หาย....นี่จำไว้อย่างหนึ่งน๊ะ (พวกโยมหัวเราะ)....ถ้าหากว่าคุณจะหายสงสัย เมื่อนั่งสมาธิแล้วจิตสงบขึ้นมาเอง....นั่นแหละ
อุบาสก: แก้วหลวงพ่อจะแนะนำวิธีนั่งสมาธิ.....
หลวงพ่อ: ได้ ๆๆ......สมาธินี้น่ะ.....สมาธินี่เป็นเรื่องของพี่ทำยากซ๊ะหน่อยนึง ก็เพราะว่ามันเป็นของที่ไม่เคยหยิบมาตั้งแต่เล็ก ๆ จิตใจของเรานี้มันไม่มีกำลัง ยิ่งมีความคิดมาก.....รู้มาก......ไม่มีกำลัง ถ้ากายมันมีกำลัง ต้องวิ่งออกกำลังกายถึงจะมีกำลัง.....จิต.....ต้องให้หยุดพักนิ่งเป็นอันเดียวเสียก่อน จิตมีกำลังเป็นแบบนี้ ทีนี้เราจะมาทำจิตให้หยุดนิ่งเป็นอารมณ์เดียวสักชั่วโมงนึง หรือ ๑ นาที ๓ นาทีก็ดีน๊ะ จะรู้สึกว่าจิตนี้ มันจะมีปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทีนี้มันลำบากที่เรามานั่งสมาธินี่ เย็น ๆ ไปนั่งดูก็ได้น๊ะ หลับตาลงซ๊ะนิดนึง ให้ทำความปล่อยวางทั้งหมด ไม่ต้องนึกคิดอะไรมาก.....ปล่อย.....เวลานี้ปล่อย ให้มีความรู้สึกลมมันออกแล้วลมมันเข้า ให้รู้ตามลมเท่านี้ ไม่ต้องไปทำอะไรมันมาก มันจะรู้อะไร.....จะอะไรอย่าไปคิดวุ่นวายเลย
อุบาสก: แล้วสมมติอย่างนั่งนี่ ไอ้เรื่องที่เข้าไปในจิต.....
หลวงพ่อ: เรื่องอะไร ?
อุบาสก: ไอ้เรื่องที่ผ่านมา หรือเรื่องอะไรที่ผ่านมาในชีวิต หรือเรื่องที่เราเคยไปทะเลาะกับใครอย่างนี้
หลวงพ่อ: นั่นแหละ.....เรื่องทรมานและนั่นน่ะ อุดซิ.....มันรั่วตรงไหนก็อุดซิ (หัวเราะ)
อุบาสก: แต่มัน.....ไอ้ตอนที่เรานั่งน่ะ ไอ้จิตที่มันเข้ามา
หลวงพ่อ: จิตอะไร ?
อุบาสก: ไอ้เรื่องอื่นที่มันเข้ามา ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติใช่ไหมครับ ? ที่เราจะต้องนั่งปั๊บตัดให้มัน
หลวงพ่อ: ไม่ใช่ ๆ ......ไม่ใช่เอาเดี๋ยวนี้น๊ะ....นานน๊ะนี่ อีกชิวิตหนึ่งได้ก็ยังดีน๊ะ ที่พูดนี่น่ะ ไม่ใช่ว่ามันง่ายขนาดนั้นน๊ะ ต้องให้รู้ว่ามันเรื่องอะไร
อุบาสก: ผมก็ว่าอย่างนั้นแหละครับ มัน.....ไอ้ที่จะนั่งโดยไม่ให้มีอะไรติดเข้ามา ให้ว่างทีเดียวเลยผมว่ามัน อ้า......
หลวงพ่อ: ใช่.....หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้นนะ เช่นว่าคุณนั่งฟังเสียงดนตรีที่เขาเล่นน๊ะ คุณก็ต้องการความสงบใช่ไม๊?
อุบาสก: หูก็ได้ยิน
ลพ เมื่อได้ยินน่ะคุณจะคิดอย่างไร.....คิดว่าเสียงมารบกวนเราอย่างงั้นเหรอ?
อุบาสก: ผมไม่นึก
หลวงพ่อ: นึกยังงัย.....สบายไม๊ สงบไม๊?
อุบาสก: ผมว่าผมสงบ เสียงก็เสียงมีไป
หลวงพ่อ: หา.....ได้อย่างนั้นจริงหรือ.....หรืออันนี้เป็นคำพูดเฉยๆนี่
อุบาสก: ไม่.....มันมีอย่างนั้นจริง แต่บางทีถ้าเผื่ออยู่ในอารมณ์ที่ ไม่ถูกกับอารมณ์อย่างนี้ มันก็รบกวนเหมือนกัน
หลวงพ่อ: นั่นแหละมันรบกวน.....ไม่ใช่สิ่งนั้นมารบกวนเรา เราไปรบกวนเขารู้ไหม?
อุบาสก: ก็ถูกแล้วนี่ครับ
หลวงพ่อ: นั่นแหละ.....คุณต้องเข้าใจใหม่ คนจะพูดโต้งๆอยู่ คุณจะว่า แหม....นั่งสมาธิไม่ได้คนมารบกวน เสียงมารบกวนก็คิดได้.....แต่ว่ามันไม่ถูก ถ้าถูกแล้วเราไปรบกวนเขา.....เขาไม่รบกวนเราถ้าคิดอย่างนี้จิตก็สงบง่าย
อุบาสก: เดี๋ยวๆ.....หลวงพ่อยอมรับหรือเปล่าว่า ตอนหลวงพ่อนั่งสมาธิ หลวงพ่อมีสิ่งอื่นเข้ามารบกวนไม๊ฮ๊ะ?
หลวงพ่อ: มี
อุบาสก: มีใช่ไม๊ครับ.....ผมขอถามแค่นี้แหละครับ
หลวงพ่อ: เออมี
อุบาสก: แล้วหลวงพ่อทำอย่างไรครับ
หลวงพ่อ: แต่รู้มันอันนี้ไม่เป็นไรนี่ มันเป็นอารมณ์เฉยๆ เราไม่มีอะไรกะมัน ไม่มีความวุ่นวายกับมันแล้ว เห็นไก่มันผ่านก็ อื้อ.....ไก่มันผ่าน เห็นสุนัขมันผ่านก็ อื้อ.....สุนัขมันผ่าน แล้วก็แล้วไป อะไรมันผ่านก็ผ่านแล้วไป
อุบาสก: หลวงพ่อยังไม่ได้บอกถึงวิธีนั่งเลยครับ
ลพ นี่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้(พูดพลางแสดงท่าให้ดู) เอาขาขวาทับขาซ้าย.....นี่ๆ.....มือขวาทับมือซ้ายตั้งกายให้ตรง แล้วก็นึกว่าในเวลานี้ เราจะปล่อยวางทั้งหมด เหลือแต่จิตอันเดียว เรื่องการงานทุกสิ่งเราปล่อยแล้วเดี๋ยวนี้
อุบาสก: ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ?
หลวงพ่อ: ใช่.....เดี๋ยวนี้ไม่ต้องนั่งแก้ปัญหากับใครแล้ว เราจะปล่อยวาง แล้วกำหนดเอาความรู้สึกกับลม เอาลมเป็นรากฐาน
อุบาสก: คือว่า......หายใจให้มันเป็นจังหวะ
หลวงพ่อ: หายใจให้มันสบาย อย่าไปบังคับใหัมันยาว.....มันสั้นน๊ะ ปล่อยตามสบายของมัน จะมีอะไรมาผ่านก็ช่าง เราจะปล่อยวางมัน นั่งอย่างนี้มันจะเป็นยังไงไม๊....อย่าคิด คิดก็ไม่ส่งเสริมมัน นั่งไปยังงี้มันจะเป็นยังไงไม๊?......มันจะเห็นอะไร? ....อย่าไปคิด ไม่เอาทั้งนั้นแหละ....เราไม่ต้องการอะไร เราต้องการรู้ลมเข้า - ออกเท่านั้น จนกว่าที่เรามีความสงบเข้าไปเรื่อย ๆ
อุบาสก: แล้วนั่งต้องหลับตาหรือเปล่าครับ ?
หลวงพ่อ: หลับตานิดนึงซิ อย่าไปหลับให้มัน.......
อุบาสก: แล้วไม่ต้องการอะไรใช่ไหมครับ ?
หลวงพ่อ: ไม่ต้องเพ่งอะไร ดูนี่ ๆ .....ดูลมเข้า-ออกนี่ ไม่ต้องดูอะไร เอาตามกำลังน๊ะ อย่าไปบังคับมันมาก นั่งไปชำนาญไปแล้วมันนั่งอยู่ได้
อุบาสก: แล้วนั่งวันละกี่นาทีครับ ?
หลวงพ่อ: เอาเถอะ......มีโอกาสเท่าไรก็เอาเถอะ......บางคนไปนั่งอยู่ทั้งวัน มันก็เลยไม่ได้ทำงานเลย
อุบาสก: ใช่......เสียประโยชน์ไป
หลวงพ่อ: ใช่......เสียประโยชน์ซิ........ไอ้คนมีประโยชน์มาก ๆ ยิ่งเสียแล้วนี่ นั่งในเวลาเราจะนอนหรือเวลาเราพักผ่อน.......วันหยุด.....เราหาร่มไม้เย็น ๆ ไป นั่ง
อุบาสก: เดี๋ยวก็หลับเลยซิครับ ?
หลวงพ่อ: หลับก็คนมันหมดแล้วนั่นน่ะ คนขี้เกียจมันถึงหลับ เราไปเขียนหนังสือเราเคยหลับไม๊ ? มันก็อย่างเดียวกันนั่นแหละ เราเคยเขียนหนังสือ ทำบัญชีอะไร มันหลับไหมนี่ จะหลับยังไงมันเขียนจ้องอยู่นี่ หลับมันก็พังเท่านั้นแหละ จิตนี้ก็เหมือนกัน มันก็แยกออกจากลมเท่านั้นแหละ คนยังไม่ได้ทำน่ะสงสัย ถ้าเป็นอาตมายิ่งจะสงสัยมากกว่านี้.....ถ้าไม่ได้ทำน๊ะ ทีนี้ต่อไปเมื่อจิตสงบแล้ว ไม่ต้องนั่งมากหรอก นั่งทีละ ๕ นาทีก็ได้ เมื่อคุณออกจากสมาธิ จะไปทำงานอะไรที่ไหนก็ตามที จะยืน เดิน นั่ง นอน ให้มีสติอยู่ว่า เราทำอะไรอยู่เดี๋ยวนี้ อันนี้มันเป็นที่เรียกว่า ให้กำลังเราที่ไม่มีเวลานั่งนาน เราจะทำงาน ยืนเราก็ต้องทำงาน นั่งเราก็ต้องทำงาน นอนก็ต้องทำงาน ให้เรามีสติอยู่อย่างนี้เสมอเท่าที่เราทำได้สองดูให้จิตสงบแล้วดูซิ ลอง ๆ มันจะเป็นยังไงไม๊ ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้นแหละ ไอ้ตัวที่มันไม่รู้นั่นแหละ อย่าไปถามคนอื่นเลย ให้มันรู้ขึ้นมาแล้วมันจะบอกตัวมันเอง ตรงนั้นแหละ.....ยังไม่เคยได้ทำกันใช่ไม๊ ?
อุบาสก: ผมจะลองทำดูครับ.....ก็ผมก็คิดว่า......ผมไปทำแบบของพวอินเดีย
อุบาสิกา: โยคะหรือค๊ะ ?
อุบาสก: ไม่ใช่....ไอ้ ๆ......(พูดเป็นภาษาอังกฤษ).....ของอินเดียเค๊า
หลวงพ่อ: เอ้อ.....เขาทำยังไง ?
อุบาสก: คือแบบที่ให้พูดถึงคำ.....โดยที่คำ ๆ นี้ไม่มีความหมายอะไรทั้งสิ้น เขาว่าจะทำให้จิตว่างไปโดยที่พูดถึงคำที่ไม่มีความหมาย ก็คล้าย ๆ กันอีกแหละกับของพุทธเรา
หลวงพ่อ: อันนั้นเราไม่รู้แง่มุมของมัน ไม่ได้ถึงที่สุด เรายังไม่รู้เรื่องของมัน ความเป็นจริงของว่างน่ะ.....คล้าย ๆ แก้วใบนี้ไม่มีใช่ไม๊ ?
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: ถ้าไม่มีวัตถุ มันจะมีว่างหรือ ว่าง.....มันเกิดจากของที่มีอยู่ แต่ท่านพูดว่า....มันเป็นของว่าง.....(หัวเราะร่วนในลำคอ).....นี่แก้วมันเป็นวัตถุ ท่านบอกว่ามันว่าง.....ทำจิตให้มันว่างจิตจะไปเอาอะไรไปทำให้มันว่าง มันว่างกันหมดซ๊ะแล้วนี่ มันก็จนมุมเท่านั้น คำที่ว่าว่างมันว่างในของที่มีอยู่
อุบาสก: ถูกแล้วครับ
หลวงพ่อ: อันนี้มันเป็นของสมมติ
อุบาสก: ท่านพูดถูกแล้วครับ หมายถึงว่างในสิ่งที่เราคิดอยู่ พอมีอะไรมากระทบให้วางจากสิ่งนั้น
หลวงพ่อ: ให้วางจากสิ่งนั้น แต่อันนั้นมันมีอยู่น๊ะ.....มีคือเรารู้เฉย ๆ คือมี.....ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นมันแต่มันรู้จักอยู่ ถ้ามันไม่มีมันก็ไม่รู้ มันรู้เพราะสิ่งที่มันมี และก็ว่างมีก็เพราะสิ่งที่มันไม่ว่าง มันต้องเป็นอย่างนั้น
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: ไอ้ความเป็นจริงแล้วนี่ไม่มีน๊ะ แต่คนมาสมมติว่าแก้ว.......ไปสมมติมาจากอะไรนี่ สมมติมาจากสิ่งที่มันไม่มี ให้มันมี มันเป็นของสมมติ ไอ้ความเป็นจริงแก้วมันก็ไม่ใช่ มันไม่มีอะไรทั้งนั้นมันเป็นธรรมชาติขึ้นมาเฉย ๆ เท่านั้น เราไปตั้งชื่อให้มันแล้วก็ไปยึดชื่อ......ติดชื่อมัน ใครว่าแก้วก็ยึดว่าแก้ว ไอ้คนนี้ยึดว่าถ้วย ก็ว่าถ้วย ไอ้คนไปพบแก้วกับถ้วยนี่พูดคนละอย่าง ก็ทะเลาะกันก็ได้ เพราะว่าอันนี้มันสมมติมันจึงต่างกัน แต่ตามสภาพของมัน มันไม่มีอะไรทั้งนั้นแหละ เราสมมติให้มันเป็นแก้ว เป็นกระโถน เป็นถ้วยขึ้นมา ตามธรรมชาติมันไม่มีอะไร มันมีเมื่อเราสมมติขึ้นมานี้.....อย่างตัวเราทุกคน มีชื่อตั้งแต่วันเกิดหรือเปล่า พอเกิดมาปุ๊บ พ่อ-แม่ก็ตั้งชื่อให้ เป็นนายก. นายข. นี่.....มันมีขึ้นเดี๋ยวนี้ มีประโยชน์ไหมชื่อนี่.....มีซิให้คนรู้จักว่าชื่อนั้น ๆ ถ้าเรียกว่าคน ๆ ถ้ามาตั้งร้อยคนพันคน ใครจะมาล่ะ ก็มาทั้งพันคนร้อยคน จะเป็นประโยชน์อะไรล่ะ ต้องเรียกเป็นนาย ก. นายก. นายข. ก็มามีประโยชน์แค่นี้ สมมติไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์ ทีนี้วิมุติมันก็พ้นจากนี้ไป คิดว่ามันไม่มีอะไรตรงนี้ ที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ก็เรียกว่าสมมติ ของเรานี่ไปซื้อมาเดี๋ยวนี้ถ้ามาหาพระ.....พระก็ว่า......นี่ไม่ใช่ของคุณหรอก คุณก็จะเถียงไม่ใช่ของผมยังไง ผมซื้อมาเดี๋ยวนี้ ซึ้อก็จริงเถอะ ซื้อมาก็ไม่ใช่ อย่างนี้.....มันว่างอย่างนี้
อุบาสก: หลวงพ่อมาที่นี่.....ผลประโยชน์.....อ้า.....ท่านยังไม่อธิบาย ผมอยากให้ท่านอธิบาย
หลวงพ่อ: อาตมาเห็นว่า มันไม่ค่อยยากอะไรน๊ะ ให้ผลมันเกิดมาจากเหตุมันเถอะ ถ้าเราทำแล้วผลมันจะเกิดขึ้นเอง ไม่อยากจะรู้ก็ต้องรู้ เช่น ผลไม้ผลนั้น จะทำยังไง.....ให้เข้าใจอย่างเดียว ก็ให้เข้าใจหมดน๊ะ อาตมาไม่เคยมาเมืองนอกน่ะ.....ไม่รู้ว่าผลอะไร เขาเอามาให้ทาน แหม....อร่อยจริงน๊ะ มันหวาน.....มันหอมรู้จักหมด แต่ชื่อผลอะไรนี่อาตมาก็ไม่สำคัญมาก ไม่ต้องถามหามันแล้วน๊ะ รู้ก็ได้ ถ้ามีคนบอกผลนั้นชื่อนี้ก็รับฟัง ถ้าไม่มีใครบอก็ช่างมัน ให้อาตมาได้ฉันผลไม้ชนิดนี้ก็แล้วกันเท่านั้นแหละ ถ้าเขาว่าผลอันนี้ ผลอันนั้นมันก็ไม่เพิ่มความหวานขึ้นมาอีกหรอกน๊ะ มันไม่เพิ่มความเอร็ดอร่อยขึ้นมาอีก
อุบาสก: ครับ
หลวงพ่อ: ให้เข้าใจอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องสนใจอะไรเท่าไหร่ ควรรู้ก็รู้ ไม่ควรรู้ก็ไม่ต้องรู้ ผลเกิดจากสมาธิ จิตของคุณจะเยือกเย็น คุณจะมีสติ ปัญหาอะไรเกิดขึ้นมาปุ๊บเป็นต้น คุณจะพยายามตัดอันนั้นไม่ให้เป็นทุกข์
อุบาสก: คือเรียกว่ารู้จักว่าอะไรเป็นอะไร
หลวงพ่อ: นั่นแหละ.....มันจะเป็นอย่างนั้น ให้ค่อย ๆ สังเกตไป อย่าเร็วน๊ะ.....นี่น่ากลัวจะร้อนเกินไป
อุบาสก: ไม่ครับ
หลวงพ่อ: เออ.....อย่าให้ร้อนน๊ะ ร้อนไม่พบน๊ะ.....ยิ่งร้อนใหญ่น๊ะ
อุบาสก: ผมพยายามนั่งมาตั้ง ๓-๔ ปีแล้วครับ
หลวงพ่อ: เอ้อ.....ให้วางซ๊ะ คืออย่าไปเอาอะไรเลยนั่งน่ะ เรานั่งทำความเพียรเพื่อการปล่อยวางไม่ใช่จะเอาอย่างนั้นอย่างนี้
อุบาสก: ไม่ครับ.....ผมไม่ได้คิดอะไรครับ ทำเพราะเพื่อความพักร้อน
หลวงพ่อ: จิตสงบไม๊ ?
อุบาสก: ก็บางครั้งก็สงบ บางครั้งก็มีเรื่องไม่สงบ
หลวงพ่อ: นั่นแหละ.....เรื่องไม่สงบข้างนอก แต่ความคิดเราจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คิดเข้าไปหาจุดมันแล้วจะเปลี่ยนลำต้นไปเรื่อย ๆ
อุบาสก: แต่สรุปแล้วมันดีกับสุขภาพจิตครับ
หลวงพ่อ: เอ้อ.....ต้องเอาอย่างนั้น
อุบาสิกา: (อีกคน) หลวงพ่อค๊ะ หนูมีปัญหาอยากจะถามว่า เรื่องการนั่งกรรมฐานนี่น๊ะค๊ะ ซึ่งหนูก็เคยทดลอง และหนูได้ไปที่วัด ก็มีท่านอาจารย์ที่วัดสอนอยู่เหมือนกันว่า วิธีนั่งกรรมฐานนี่น่ะ ให้เรานั่งแบบที่หลวงพ่อได้สอนเมื่อกี้นี้น่ะฮ่ะ แล้วให้เพ่งจิตอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก ในระหว่างที่ลมหายใจเข้า - ออกนี่น่ะ หลวงพ่อคิดว่าจะเป็นการดีหรือว่า.....สำคัญหรือไม่ที่เราจะใช้คำพูดที่ว่า หายใจเข้า......พุท.....หายใจออก......โธ พุทโธตลอดเวลาเลย หรือว่าเราจะเพ่งจิตอยู่ที่สายลมหายใจค๊ะ ?
หลวงพ่อ: มันเป็นอย่างนี้ ๆ อันนี้เราต้องทำผ่านไปแล้วถึงรู้จัก ที่เราหายใจและนึกว่าพุทโธ มันทำงานหยาบ เราฝึกว่า พุทโธ เราก็นั่ง....พุทโธไปเรื่อย เมื่อจิตเรามันละเอียด ไอ้พุทโธมันเป็นของหยาบซ๊ะแล้ว ถ้ามามัวเพ่งว่าพุทโธ มันอยากจะรำคาญ เลยเกิดความสงสัยขึ้นมาเราจะไปว่ามันไม่ได้น๊ะ ไอ้พุทโธนั่นคือตัวผู้รู้นั่นเองแหละ ไม่ต้องว่าพุทโธก็ได้ แต่มันรู้ว่าเข้า - ออก นั่นแหละความรู้นั้นเรียกว่าพุทโธ ไอ้ตัวพุทโธนี่คือคำพูดที่เรารู้ว่า ลมเข้า-ออก อยู่ ขณะนั้นมันเป็นตัวพุทโธอย่างแท้จริง แต่ในระยะที่มันเปลี่ยน เราไปสงสัยว่า ท่านอาจารย์บอกให้ว่าพุทโธ......พุทโธ เราก็ไม่ว่าพุทโธ แต่ลมมันก็เข้า-ออกอยู่ มันจะเป็นตัวสงสัยขึ้น อันนี้ไม่ต้องสงสัยแล้ว ไม่ต้องพูดว่าพุทโธ มันก็รู้อยู่แล้ว ไอ้ความรู้นั่นแหละเรียกว่าพุทโธ ความรู้สึกว่าพุทโธนั่น.....เรียกว่าพุทโธอยู่แล้ว มันเปลี่ยนเท่านี้ เข้าใจเท่านี้ก็พอแล้ว ให้รู้ว่ามันออกหรือมันเข้าเท่านั้นแหละ นั่งอยู่ตรงนี้ ผลที่สุดเห็นจิตอยู่ที่นี่ เห็นลงอยู่นี่นี่ เห็นสติอยู่ที่นี่ เห็นความรู้เกิดพร้อมอยู่ในความสงบ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้สงบลงไปแล้วจิตก็เห็นหนึ่งไม่มีอะไรตรงนี้ ทีนี้ออกจากนี้ไป.....ก่อนนั่งสมาธินี่ควรพิจารณา ตั้งแต่ศรีษะลงไปหาปลายเท้า พิจารณากาย.....กายทั้งก้อนนี้เป็นกาย แล้วพิจารณาของในกายนี่มีอะไรอีกบ้างไหม ?.....ทุกครั้ง อันนี้จะส่งเสริมให้เราเข้าไปเห็นว่า.....เออ.....คนเรานี่มันก็ไม่มีอะไรมากมายน๊ะ มันจะพิจารณามีปัญญาไปเอง เมื่อมีปัญญาไอ้ความทุกข์.....ความยากมันก็ทอนเข้ามา อย่างข้าววันนี้กินกี่จาน....นี่.....ทำไมมันกังวล บางวันทะเลาะกัน พ่อบ้าน แม่บ้าน ไม่ได้อยุ่เป็นสุขกันเพราะอะไร?.....มันจะไปค้นคว้ามาอ่านดู มันจะรู้จักปล่อย รู้จักวาง จิตใจเราจะสงบ เห็นแล้วมันก็ปล่อย....ก็วาง เป็นจิตใจที่เยือกเย็น จิตใจที่แน่นหนา เป็นกำลังที่จะเกิดปัญญาของเรา สำหรับให้เราเยือกเย็นในครอบครัวนี้
อุบาสิกา: แล้วก็มีอีกอย่างหนึ่ง เอ้อ.....ท่านผู้ใหญ่ซึ่งอายุก็รุ่นราวคุณย่า คุณยายน๊ะค๊ะ ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านได้นั่งกรรมฐาน แล้วเป็นความจริงไหมค๊ะว่าทุกคนเมื่อมีจิตศรัทธาแน่นแล้ว ก็ให้ฝึกกรรมฐานนี่น่ะ เมื่อนั่งไปนาน ๆ เมื่อจิตสงบแล้วก็ จะเห็นอะไรต่าง ๆ เกี่ยวกับนรกสวรรค์หรืออะไรอย่างนี้ ที่เล่าให้ฟังนี้เป็นความจริงไหมค๊ะ ?
หลวงพ่อ: อันนี้มันเรื่องเบ็ดเตล็ด มันต้องทิ้งทั้งนั้นแหละ ถ้าเห็นสวรรค์จะกระโดดขึ้นไปได้หรือ เห็นแสงสว่าง....อยู่ในเมืองเรานี่แสงสว่างเยอะไปน๊ะ ไม่ต้องไปนั่งหลับตาก็เห็นสว่างหรอกเดินไปตามเมืองแสงสว่างมันเยอะไปแล้ว ไม่ต้องไปอย่างเห็นอันนั้น อยากจะเห็นความสงบของจิตเรานี้ เมื่อถูก อารมณ์ไม่อยากจะให้มันยึดมั่นถือมั่น อยากให้มันพ้นจากทุกข์เท่านั้นอันนั้นก็เป็นไปได้เหมือนกัน แต่ว่ามันเป็นเครื่องประดับของผู้มีปัญญา มันเป็นของเบ็ดเตล็ดอย่างนั้น ไม่เป็นของควรยึดมั่นถือมั่นอะไรมัน เราไม่ต้องการอันนั้น อันนั้นมันเป็นของภายนอก มันเป็นไปได้ทุกอย่างน่ะแหละ
อุบาสิกา: จุดประสงค์ของหลวงพ่อก็คือ.....การนั่งกรรมฐานนี่ ต้องการทำใจให้สงบเท่านั้น
หลวงพ่อ: ใช่
อุบาสิกา: แต่ว่าการนั่งกรรมฐานของท่านผู้ใหญ่ ที่เคยเล่าให้หนูฟังเมื่อสมัยเป็นเด็ก คือนั่งกรรมฐานแบบต้องการจะรู้แบบ......
หลวงพ่อ: นั่นแหละคนชอบเล่นหมากรุก จะไปนั่งให้รำคาญทำไมอย่างนั้น มันไม่อดหรอกของจะดูอันนั้นไม่ต้องอย่างนั้นแล้วนี่ รู้ว่ามันเป็นของปลอม ก็ไม่ต้องไปรู้ซิ
อุบาสิกา คือถ้าเผื่อนั่งนี่ต้องการจะเห็น ๆ จริงหรือเปล่าค๊ะ ?
หลวงพ่อ: ไม่รู้.....บางคนมันก็เห็น บางคนมันก็ไม่เห็น มันคนหลายคนทำ ไม่ใช่คน ๆ เดียวทำ
อุบาสก: ไอ้ผล.....เราไม่ต้องการเห็นอะไร
หลวงพ่อ: เอ้อ ๆ ......นั่น
อุบาสก: แล้วเห็นอะไรล่ะครับ ?
หลวงพ่อ: เห็นจิตเจ้าของมันสงบเท่านั้นแหละ
อุบาสก: ใช่.....เหตุผลมันมีอยู่แค่นั้นแหละ ไอ้การที่ใครบอกว่าเห็นโน่น เห็นนี่ ผมว่า.....แสดงว่าจิตเขาไม่ว่างจริง ถ้าเผื่อเขาเห็นถูกไหมครับ ?
หลวงพ่อ: ใช่....ถ้าเห็นก็เห็นมีเหตุผลดีกว่านั้น เห็นเรื่องจนว่าระงับให้ไม่มีเรื่อง.