ฟังธรรมตามกาล

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นะมัสสามิ

อิโต ปะรัง สักกัจจัง ธัมโม โสตัพโพติ

วันนี้เป็นวันอัฏฐมี ดิถีที่ ๘ ค่ำมาถึงแล้ว วันนี้ฝ่าย พุทธบริษัททั้งหลายถือว่าเป็นวันพระ ซึ่งนับเนื่องมาจากโบราณกาลของชาวพุทธทั้งหลาย มาแบ่งวันปันส่วนให้ชาว พุทธทั้งหลายเข้าสู่ธรรมะ ให้ฟังธรรมะที่วัดวาอาราม เป็นธรรมดา ชาวพุทธเราทั้งหลายถือเป็นกาลเวลา โบราณอาจารย์ ท่านจัดเดือนหนึ่งเป็นวันพระอยู่ ๔ วัน เป็นวัน ฆราวาสอยู่ ๒๖ วัน ๒๗ วัน เป็น ๓๐ วันนะ เดือนหนึ่งมี วันพระอยู่ ๔ วัน เป็นวันคฤหัสถ์วันฆราวาสอยู่ ๒๖ วัน แบ่งกันอย่างนั้น ฆราวาสได้หลายกว่า มากกว่า เดือนหนึ่งได้ ๒๖ วัน พระได้ ๔ วัน

ขนาดนี้ยังไม่พอใจนะ ยังขโมยวันพระไปอีกด้วย วันพระ ๔ วันเท่านั้น ให้ ๒๖ วัน ยังขโมยวันพระไปอีก จนมาถึง บัดนี้ วันพระจะไม่เหลือซะแล้ว เลยเจียดให้เป็นวันฆราวาส ทั้งหมด ทั้ง ๓๐ วันเลย อันนี้ดูจากว่าเราข้ามเขตกันมาไหมล่ะ ๒๖ วัน เรายังไม่พออีก ยังมาขโมยวันพระไปอีกด้วย วันพระ ท่านได้ ๔ วัน คือ เป็นวันเทียบเดือนหนึ่ง เราจะต้องมาพยายามอบรมสันดานของมนุษย์เราทั้งหลาย พยายาม อยู่เรื่อย ถ้าเราไม่อบรม...นานๆถึงจะมาอบรมทีนึง สมกับ พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า วันคืนมันล่วงไป บัดนี้เราทำ อะไรอยู่

เรามันมีความวุ่นวาย มุ่งหมายแต่อย่างอื่นโดยมาก ไม่นึกถึงตัว ไม่เห็นตัว พระองค์กลัวพวกเราทั้งหลายจะเผลอ ไปซะ อย่าได้ลืมว่าวันคืนล่วงไปๆ มันไม่ล่วงไปแต่วันนะ ชีวิตของเราก็ล่วงไป เฒ่าไป แก่ชราไป ผลที่สุดมันก็หมด อย่างนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า วันคืนล่วงไป ล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่ คือ ท่านกำชับให้พวกเราทั้งหลายได้พิจารณาให้อยู่ในปัจจุบัน นั่นว่าเรามานี่ เรามาจากไหน มาเพราะอะไร ใครนำมา จะมาอยู่นี่กี่ปี กี่เดือนกัน รู้ไหม จะออกจากนี่ จะไปไหนกัน เมื่อเราระลึกถึงวันคืนอยู่อย่างนี้ เราจะครวญคิดอย่างนี้ อยู่เรื่อยๆ เมื่อความคิดอย่างนี้อยู่สม่ำเสมอ เราจะเห็นว่าชีวิต มนุษย์สัตว์ทั้งหลายเกิดมานี้ก็ไม่นานนัก เป็นเด็กแล้วก็แปร เป็นหนุ่ม เป็นคนเฒ่า เป็นคนแก่ เปลี่ยนไปทุกวัน เราพยายาม มุ่งพิจารณาอย่างนี้ เราจะพยายามว่าทางไปทางมาของเรา เพราะว่าเรายังไม่หมดห่วง ยังไม่หมด ยังอยู่ ยังมีเรื่องต่อ

เช่น พวกเรามาฟังธรรมนี้ ก็คิดว่าจะกลับบ้านอยู่ ทุกคน นั่งไปๆก็พักนั่ง ก็คิดว่ากี่โมงแล้วหนอ กลับไปบ้านทัน ไหมหนอ มันห่วงอยู่อย่างนี้ เรานี่ก็เหมือนกันฉันนั้น เรามา ทำมาหากินอยู่ในโลกนี้ เราจะรู้จักชีวิตของเราว่า เรามายังไง ไปยังไง มายังไง มีเครื่องหมายไหม ว่าเราจะอยู่กันกี่วัน กี่ปี กี่เดือน อย่างนี้ เมื่อเราระลึกเช่นนี้อยู่ เราก็จะรีบขวนขวาย เพื่อประพฤติปฏิบัติ ไอ้สิ่งอะไรที่ว่ามัน ไม่ดี ไม่เป็นสาระ ที่ว่ามันไม่เป็นประโยชน์แก่ตน แก่บุคคลอื่น ซึ่งเรากระทำด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี อันนั้นเราก็พยายามเขี่ยออกห่างไกลเรา เพื่อความสวัสดี ถ้าหากว่าเราไม่คิดเช่นนั้น ก็เรียกว่า เราไม่รู้จักต้นปลาย ต้นทางตรงไหน กลางทางตรงไหน ปลายทางตรงไหน เรามาแต่ที่ไหน แล้วเราจะอยู่กี่ปี กี่เดือน แล้วไปที่ไหน แล้วใครเป็นคนนำไป เราก็จะไม่รู้เรื่อง ทีนี้ก็อยู่ ไปโดยที่ว่า ไม่มีสาระอะไรในจิตใจของเรา อย่างนั้นมันก็คล้ายๆที่ว่า ไม่มีกาล ไม่มีเวลา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเรียกว่า มัน คล้ายๆกันกับสัตว์ อย่างไก่อย่างนี้ไม่รู้เรื่อง ตอนเช้ามาก็พา ลูกคุ้ยเขี่ยหากินไป เย็นมาแล้วก็นอนในเล้าไก่ พรุ่งนี้ก็เขี่ยกัน ไป มะรืนนี้ก็เขี่ยกันไป ไม่รู้จะไปตรงไหน มาที่ไหน ไม่รู้จัก เจ้าของเขาเลี้ยงไก่ ก็ไม่รู้เจ้าของเขาเลี้ยงไว้ทำไม ไม่รู้จัก รู้สึก แต่ว่าเขาเอาข้าวมาให้กิน ก็นึกว่าเขารักเรา ทุกวันๆเอาข้าวมา โปรยให้กิน ก็นึกว่าเจ้าของเขารักเรา ก็วิ่งกันมากินข้าวอยู่ ทุกวัน

เจ้าของไก่คิดอย่างหนึ่ง ไก่มันคิดอย่างหนึ่ง เจ้าของ ไก่พยายามเลี้ยงไก่ ว่าโตแล้วหรือยัง มันได้ ๒-๓ กิโลแล้วหรือ เปล่า เจ้าของไก่คิดไปอย่างนี้ ไก่...แหม เราสนุก กินอาหาร นานๆก็คุ้นเข้ามา ก็เข้ามาใกล้ เจ้าของก็จับดู ยกขึ้นดู นี้ก็นึก ว่าเจ้าของรักเรา.. เปล่า เจ้าของนึกว่ามันหนักเท่าไรแล้ว มัน จะพอ ๒ กิโลหรือเปล่า คิดไปอย่างนั้น ไก่ก็นึกว่าเจ้าของรักเรา คิดไปคนละอย่าง เจ้าของไก่กับไก่ ไก่ก็คุ้นเข้ามา กินเข้ามา ตะพึด ให้มันอ้วนขึ้น เจ้าของก็เร่งเอาข้าวให้มันโตให้มันใหญ่ขึ้นมา เมื่อจับขึ้นมาได้ ๒-๓ กิโลก็ดีใจแล้ว ไก่ไม่รู้เรื่องแหละ ไม่รู้จัก นึกว่าเขารักเรา มันเป็นเช่นนี้ คือมันไม่รู้เรื่อง มันเกิด มาทำไม เป็นอะไรต่อไปไม่รู้เรื่อง อย่างนี้

มัจจุราชคือความตาย เหมือนเจ้าของไก่ มัจจุราชมา ตามถึงเราเมื่อไร ไม่รู้จัก มัวแต่เพลิน เพลินน้ำรูป น้ำเสียง น้ำกลิ่น น้ำรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อยู่อย่างนั้น คือถ้า ไม่รู้จักแก่ ก็ไม่รู้จักพอ คำว่า “พอ” ไม่ได้ยิน คำที่ว่า “แก่” ก็ เกลียด ไม่อยากจะพูดให้ได้ยินเลย อาตมาไปสหรัฐ ไปเทศน์ เรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ไหว เขาไม่ฟังเลย...กลัว เขาเกลียด คำที่ว่ามันแก่ มันเฒ่า มันตาย เราไม่อยากได้ยินเลย ไม่อยาก จะได้ยิน คืออันนี้เรียกว่า กลัวมันจะเห็นแก่ เห็นเจ็บ เห็นตาย เดี๋ยวใจเราจะไม่สบาย

พระพุทธองค์ของเรามีความมุ่งหมายว่า อยากจะ เห็นความแก่ เราจะมีความสลดสังเวชบ้าง เมื่อเราทำความชั่วมานานแล้ว ควรจะพอ เลิกมันเสีย มันก็เท่านั้นแหละ มันแก่แล้ว จะเอาไปทำไมมากมาย มันต้องคิดอย่างนี้ พวกสหรัฐ เจริญหลาย เจริญด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ พูดถึงความแก่...เขาหน้างอ ไม่อยากจะฟังกันแล้ว ๗๐-๘๐ ยังปากแดง เล็บแดงเสมอ ยังขึ้นรถจักรยานแข่งกันอย่างกับเด็กอยู่นั่นแหละ คือคนไม่รู้จักแก่ ไม่รู้จักแก่...มันก็ ไม่รู้จักพอ เมื่อไม่รู้จักพอ...มันก็ยุ่ง มันเป็นซะอย่างนั้น

ฉะนั้น บรรพบุรุษท่านจึงแบ่งวันพระ ให้พระเดือน หนึ่ง ๔ วัน ๒๖ วันเป็นวันโยม ให้ทำมาหากินด้วยความชอบ เมื่อทำมาหากินพอสมควรแล้วก็มาพักกันเสีย เข้ามาวัดน่ะ พระท่านจะพูดอะไรให้ฟังบ้างไหม เมื่ออยู่ในบ้าน...อันนั้นก็ เรา อันนั้นก็ของเรา ของเราทั้งหมดเลย ไม่เคยได้ยินว่า ไม่ใช่ ของเรา ไม่เคยได้ยินเลย บางทีก็แอบเข้ามาในวัด พระท่าน เทศน์ให้ฟัง อันนั้นก็ไม่ใช่เรา อันนั้นก็ไม่ใช่ของเรา เอ๊ะ! ทำไม เป็นอย่างนั้นเล่า เอะใจขึ้น ทำไมเป็นอย่างนั้น ของเราแท้ๆ เราสะสมมาแต่นานๆ พระท่านพูดโกหกรึไงนี่ ท่านว่าอันนั้นก็ ไม่ใช่เรา อันนั้นก็ไม่ใช่ของเรา ตกตะลึงไม่รู้ว่าจะเอายังไงดี ฟังไปเรื่อย มาเมื่อไรท่านก็พูดว่า อันนั้นไม่ใช่เรา อันนั้นก็ ไม่ใช่ของเรา เราก็ฟังสะสมกันในใจ อันนี้ก็ของเรา อันนี้ก็เรา อันนี้ก็ของเรา อยู่อย่างนี้ ไอ้ความเห็นอย่างนี้มันเลยยังอยู่ ตลอดเวลากับธรรมะ โลกกับธรรมะมันแย่งกัน โลกก็ยังไม่ยอม อยู่นั่นแหละ อันนี้ก็ของเรา อันนี้เรา อันนี้ของเรา

มาถึงพระท่านก็ว่า อันนี้ไม่ใช่เรา อันนั้นไม่ใช่ของเรา พูดไปคนละทางเลยนะ จนกว่าเราจะชำนาญในการฟังธรรมะ ว่า เออ...ไม่ใช่ของเรา ถูกของพระนะ มันนานเห็น มันนานพบ นะ มันนานเจอ มันนานเห็น ก็คิดนานๆ มาวัดทีนึง ก็ได้มาฟัง แต่อย่างนั้นแหละ ถ้ากลับไปบ้าน อันนั้นก็เรา อันนั้นก็ของเรา ไม่ได้คิดนึกอะไร มาถึงพระท่านก็ว่า อันนี้ไม่ใช่เรา อันนั้นก็ ไม่ใช่ของเรา เถียงไปข้างๆคูๆอย่างนั้นอยู่ตลอดเวลา แล้วเป็น เหตุให้เราภาวนา เอ...นี่มันของใครจริงแน่นอน จริงดังพระ หรือว่าจริงของเรา เราก็จะได้คิดดู คิดไปคิดมาๆ เกิดการ ภาวนา นั่น! การฟังธรรมมีประโยชน์อย่างนี้

จะได้เห็นว่า นานๆไป พิจารณาเรื่อยๆไป อายุมัน มากขึ้นมาหน่อย โลกมันบีบบังคับขึ้นมาหน่อย จะพูดอะไร ในร่างกายมันก็ไม่เชื่อ ไม่ฟัง สารพัดอย่าง แม้แต่ลูกในอก ของเรา เกิดมามันก็ยังไม่ฟังเลยนะ อย่าไปอย่างนั้นเลยนะ... ไป อย่าเกอย่างนั้นเลยนะ...เก เลยวุ่นกันไป คิดไป ที่มันเห็นในปัจจุบัน เราก็จะเห็นว่า ธรรมะที่ท่านพูดน่ะมันจริงนะ ที่ เรียกว่าเป็นของของเรานั้น มันก็เป็นเพียงแต่ของสมมติ ที่เรียกว่าเป็นเรานั้น ก็สักแต่ว่าเป็นของสมมติเท่านั้น

ถ้าพูดตามความจริงแล้ว มันถูกคำพระ แต่เรายัง ไม่เห็นความจริง ตามความเป็นจริงของพระ เราก็ยังไม่เชื่อ ไม่รู้จัก ถ้าเราฟังไปพิจารณาไป รู้เรื่อง เราจะเห็นว่าของนี้ ไม่ใช่ของเราจริงๆนะ เห็นไหมที่บ้านเรา ที่เรียกว่าของเราน่ะ มันเคยแตกไหม เคยหายไหม มันเคยอะไรต่ออะไรไหม มัน เปลี่ยนแปลงไหม เห็นไหม มันก็เห็นเป็นตัวอย่างแหละ

ที่เราเรียกว่าของเรา มันไม่ใช่ของเรา คือมันบอกไม่ได้ ว่ามันไม่ฟัง มันเป็นสภาพของมันอย่างนั้น ไม่ว่าจะของข้างนอกกาย ของในกายของเรา ก็เอาสิ ในร่างกายของเรา แม้ส่วนใดส่วนหนึ่งของเราก็เหมือนกัน โรคเกิดขึ้นมาทำไม ถ้าเราเป็นเจ้าของมัน ทำไมจึงให้มันเป็นโรคของเขาอย่างนั้น ร่างกายมันเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่อย่างนั้น เราเกิดมาในที่นั้น เราก็นึกว่าอันนั้นเป็นของเราแท้ๆ แย่งเถียงกับสังขารอยู่ตลอด เวลาอย่างนั้น ผลที่สุดแล้วก็สู้ไม่ได้สักทีหนึ่ง ต้องแพ้สังขาร อยู่ทุกทีเลย ในที่สุดแล้วก็ไป จากกันไป ถึงคราวถึงสมัยแล้ว ก็ต้องไป ไม่ว่าจะผัดวันประกันพรุ่ง...ไม่ได้...ให้ลูกฉันโตซะก่อน ให้ฉันร่ำรวยซะก่อน อันโน้นอันนี้ไม่ได้...ไม่ได้ เมื่อเขาจะเอาไปเขาก็เอาไปทั้งนั้นแหละ...ว่าเมียฉันจะอยู่อย่างไร ลูกฉันจะอยู่ยังไง พ่อฉันจะอยู่ยังไง แม่ฉันจะอยู่ยังไง เขาไม่ถามถึงแล้ว พอถึงแล้วก็ไปกัน อย่างนี้

อันนี้ถ้าเราคิดเช่นนั้น เราก็จริงเข้ามาในธรรมะ เมื่อ เราจริงเข้ามาในธรรมะเช่นนั้น ก็คล้ายๆเราเห็นงู เห็นอสรพิษ งูเห่าที่มันเลื้อยๆ งูเห่านี่มันมีพิษ ถ้าเราไม่เห็นมัน ไม่รู้จักมัน มันอาจฉกเราได้ มันอาจกัดเราได้ เราไปเหยียบมัน เราไปกำ มันได้ เรารู้จักงูอสรพิษ นี่งูเห่ามันมีพิษ แต่เรามองเห็นมันเสีย ก่อน มันเลื้อยมาข้างหน้า...นั่นงู แล้วนั่นอย่าเข้าไปใกล้มันนะ แล้วเราก็จัดการให้ห่างจากอสรพิษนั่น อสรพิษก็ไม่ได้ฉกเรา ไม่ได้กัดเรา พิษงูก็ไม่มาถึงเรา ถึงแม้มันมีพิษ มันก็ไปตาม เรื่องของมัน เช่นนั้นน่ะ...มันไม่ถึงเรา อันนี้ก็ฉันนั้น เพราะเรา ป้องกันตัวเราแล้ว อันนั้นมันเป็นพิษ เราไม่เข้าใกล้มัน หลีก จากมันเสีย มันก็ไม่มีพิษ มีก็เหมือนไม่มี มันก็อยู่กับงู มัน ไม่พ่นพิษมาถึงเรา เราก็ไม่เป็นทุกข์

อันนี้ฉันใดก็ฉันนั้น ร่างกาย จิตใจนี้ ก็อสรพิษอย่าง หนึ่งเหมือนกัน เคยเห็นไหม ร่างกายมันอสรพิษน่ะ บางทีมันก็ปราศจากโรคภัย แข็งแรง ยิ้มแย้มแจ่มใส บางครั้งมันก็เป็นโรคออดๆแอดๆ ร้องไห้ก็ได้ เจ็บปวดก็ได้ นั่นคืออสรพิษ เรื่องจิตใจนี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันได้อารมณ์ดี แล้วก็ดีหรอก ก็ค่อยยังชั่วหรอก ถ้าที่อารมณ์ไม่พอใจแล้ว นอนน้ำตาไหลอยู่ นั่นมันเป็นพิษ อย่างนั้นอสรพิษ มันกัด ไม่รู้จัก

อย่างนั้น พระพุทธเจ้าท่านให้ศึกษาธรรมะ ให้รู้จัก กายกับใจของเรา รูปังอนิจจัง เวทนาอนิจจา สัญญาอนิจจา สังขาราอนิจจา วิญญาณังอนิจจัง ทั้งกายและจิตนี้ รวมแล้ว ล้วนมีแต่ของไม่เที่ยงทั้งนั้นแหละ มีแล้วก็หาไม่เกิดแล้วก็ดับไป มันก็เป็นอย่างนี้ตลอดกาลตลอดเวลา มันเป็นอยู่อย่างนั้น เผินๆแล้วก็ดูเหมือนมันเป็นของจริง เผินๆดูแล้วมันก็เป็นของเหมือนสักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าจิต สักแต่ว่าทุกข์เท่านั้นเอง ผลที่สุดแล้ว ถ้าเราไม่รู้สิ่งทั้งหลายนี้ สิ่งทั้งหลายจะ เป็นพิษ เหมือนงูอสรพิษมันกัดเรานั่นแหละ ไม่รู้มัน เราดันไปเหยียบมัน ไปจับมัน มันก็กัดเรา

เรื่องจิตใจเรานี้ ถ้าเราไม่รู้เรื่องกิเลสตัณหาแล้ว เราก็เป็นทุกข์ เมื่อสังขารร่างกาย มันแปรตามธรรมชาติต่างๆเราก็ร้องไห้เสียอกเสียใจ หลายอย่างหลายประการ อันนี้เรียกว่า กายเราเป็นพิษ จิตใจเราก็เหมือนกัน เมื่อคิดไปถึงอย่างหนึ่ง คิดไปถึงทุกข์ มันก็ทุกข์เข้าไป คิดให้มันทุกข์ เห็นมันผิด เป็นทุกข์ จนน้ำตามันไหลออก อันนี้ล้วนแต่เราคิดเอาทั้งนั้นแหละ บางทีคิดไปคิดมา คิด กลัว ไปอยู่ที่มืด กลัวว่ามีผีทั้งนั้นแหละ กลัวแล้วก็วิ่ง คิดเอาแล้วก็วิ่ง กลัวแล้วก็คิดเอา เกิดขึ้นกับจิต ของเราที่มันโง่นั่นแหละ ถ้ามันกล้ามันก็คิดให้มันกล้า มัน กล้าหาญขึ้นมา มันก็เป็นอยู่อย่างนี้แหละ อันนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่แน่นอนสักอย่าง

มิฉะนั้น วันของคนเรานั้นมีอยู่ ๒๖ วัน เป็นวันพระอยู่ ๔ วัน ท่านจึงให้มาวัดอบรม หรือไม่มาวัด ก็ให้รู้จักวัตร คือ ข้อปฏิบัติอยู่ที่บ้านของเรา มันเป็นวิธีแบ่ง วันพระเป็นวิธีแบ่ง หรือวิธีลบ มาฟังเทศน์กับพระท่านเทศน์ เป็นวิธีแบ่งไม่ให้เอา หมด แต่ตามใจมนุษย์ทั้งหลาย มันต้องมีวิธีคูณทั้งนั้นแหละ ไม่รู้ว่าจะใส่ตรงไหน ไม่มี ก็เหมือนเลข วิธีบวก วิธีลบ วิธีคูณ อย่างนั้นแหละ หัวใจมนุษย์มีวิธีคูณอย่างเดียว ไม่มีแบ่ง ไม่มี ลบ ทำไมมันจะไม่ทุกข์ล่ะ ไปใส่ตรงไหนมันจะพอล่ะ มีไหม จำนวนเลข มีวิธีคูณอย่างเดียวไหม ถ้ามันมากท่านให้ลบ มัน มากท่านก็ให้แบ่งให้มันพอดี หาความพอดีของจำนวนของเลข นั่นแหละ เราไม่เอาอย่างนั้นนี่ คูณตะพึดทั้งนั้นแหละ ไม่ได้ ฟังเสียงใคร ไม่ต้องแบ่งใคร ไม่ต้องลบออก แบกมันตะพึดเลย ทำไมมันจะไม่ทุกข์ล่ะ รถสิบล้อมันก็พังทั้งนั้นแหละ ไม่มีเหลือ หรอก ขนใส่ไม่หยุดนี่

ร่างกายจิตใจเราก็เหมือนกัน ธรรมะนี่ ก็เรียกว่าวิธี แบ่ง วิธีลบ เมื่อราคะ โทสะ โมหะ มันเพิ่มขึ้นมา ก็ให้แบ่งมันบ้าง อย่างตอนนี้ มีลูกชายคนนี้ หรือมีลูกหญิงคนนี้ มันดี สอนมันได้ตลอดมา ลูกชายคนนี้ มาอีกวันหนึ่งสอนมันไม่ได้ มันไม่ไป พ่อแม่ก็โกรธซะแล้ว ทำไมไม่เอามาบวกกันเอง เราใช้มันมาตั้ง ๔ เดือน ๕ เดือน มันไปทั้งนั้น มันทำทั้งนั้นแหละ นี้พูดวันเดียวเท่านั้นแหละ มันไม่ไป ทำไมถึงไปเกลียดมันนักหนาล่ะ ทำไมถึงไปว่ามัน ไปไล่มันอย่างนั้นล่ะ ทำไมไม่เอา วันหลังๆที่เราใช้มันไปมาบวกเข้ากันบ้าง อันนี้มันทำผิด วันเดียว ทำไมถึงโกรธนักหนาล่ะ เป็นไงล่ะ เอามาบวกกันบ้างสิ เอามาแบ่งกันบ้างสิ

ก็เรานั้นแหละ เราคิดไม่ค่อยจะดี เราไม่ค่อยลบมัน ไม่ค่อยแบ่งมัน มีแต่ทำวิธีคูณทั้งนั้น มันก็ตาย จนไม่มีเหลือ ล่ะ อะไรมันจะเหลือล่ะ ลองๆดูสิ เราก็ต้องบอกมันสิ เราใช้มัน มาตั้งหลายเดือน มันไป วันนี้วันเดียวมันไม่ไป ให้อภัย มันเถอะ อันนี้ก็เรียกว่าลบมัน หรือแบ่งมัน วันหลังก็ใช้มัน อีกได้ ใช้มันมาตั้งหลายปีแล้ว วันเดียวมันพูดไม่เชื่อ โกรธ ใส่มันนะ จะทำยังไงมันแล้ว อันนี้เป็นเพราะเราด้วยนะ อย่า ลืมสิ ธรรมะก็เหมือนจำนวนของเลข มันมีวิธีคูณ มันมีวิธีแบ่ง มันมีวิธีบวก มันมีวิธีลบ

ถ้าใครคิดอยู่อย่างนี้ คนนั้นจะเป็นคนที่ฉลาด เป็นคนที่ฉลาด รู้จักการณ์ รู้จักเวลา ควรที่ลบก็ลบ ควรที่แบ่งก็แบ่ง ที่จะคูณก็คูณ ควรที่จะรวมกันเข้าก็รวม ก็เป็นอย่างนั้น อันนี้ คูณทุกที่ ใจคนมันจะตายแล้วนะ คือเรื่องไม่รู้จักพอนั่นเอง ไม่รู้จักพอก็คือไม่รู้จักแก่ ไม่รู้จักแก่คือไม่รู้จักพอ คนรู้จักแก่ คือคนรู้จักพอ ถ้าพอแล้ว คำว่า “เอาล่ะ” มันก็จะพ้นขึ้นมา เห็นไหมล่ะ คนที่ว่าไม่พอ คำที่ว่า “เอาล่ะ” มันไม่พ้นขึ้นมาแล้ว นี้ก็แบกไปตะพึดทั้งนั้น นี่ถ้ารู้จักพอ เอาล่ะ ถ้าเราว่า เอาล่ะ นี้มันสบาย นี้มันพอแล้ว คำที่ว่าเอาล่ะนี้มันพ้นขึ้นมา นี่มันไม่เห็นสักทีเลย ไม่เคยเหวี่ยง ไม่เคยปลง ไม่เคยวางกัน ทั้งนั้นแหละ เอาตลอด ไปไหนก็ไม่รู้เรื่องทั้งนั้นแหละ

อาตมาเคยเห็นยายคนหนึ่งนะ ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จัก อิ่มน่ะ มีลูกชายคนเดียว นาก็มีหลายทุ่ง บ้านก็มีหลายหลัง ยายคนนั้นก็คิดไป “เมื่อเราตายแล้วจะไปอย่างไรหนอ ลูกจะไม่ทิ้งของทั้งหมดเหรอ”...คิดไป “ไม่ได้หรอก จะต้องแต่งงานให้มัน ซะ มันจะได้อยู่บ้านอยู่ช่อง” ทีนี้ก็เลยไปแต่งงานให้ลูกชาย คนเดียวนั่นแหละ พอมาแต่งงานให้มันแล้ว ก็นึกว่าจะพอ ไม่พอ...คิดไปอีกแล้ว “หากว่าลูกชายเราตายจะทำไง นี่สะใภ้ จะเอาไปคนเดียวหมดละมั๊ง” เป็นทุกข์อีกซะแล้ว คือไม่รู้จัก พอ ถ้ามีลูกชายไม่มีลูกสะใภ้ ก็กลัวมันจะหนีไปเที่ยว มันจะ เก หาลูกสะใภ้ หาเมียให้มัน ก็คิดไปอีกว่า “ลูกชายตาย ทำไง เรามันแย่ไม่มีใคร ลูกสะใภ้มันก็คนอื่น มันก็เอาไปหมดเท่านั้น แหละ” ดิ้นรนไปอีกซะแล้ว

อันนี้มันตัวจริงนะ ไม่ใช่นิทานนะนี่นะ ก็เลยขึ้นมาหา อาตมาอยู่ที่วัด มากราบ เลยมาเล่าให้ฟัง “หลวงพ่อมันเป็น อย่างนั้นๆๆ จะทำอย่างไรล่ะ” เล่าไป “มีลูกชายคนเดียว มัน ไม่ค่อยอยู่บ้านอยู่ช่อง ของก็มาก อิฉันว่ามันจะไม่คุ้มของ รักษาของไม่คุ้ม ก็คิดว่าแต่งงานให้มันเสีย ก็ว่ามันจะแล้วไป แต่งงานแล้ว ความคิดใหม่มันพ้นขึ้นมาอีก เมื่อลูกชายเรา ตายแล้ว จะทำไงล่ะ! ลูกสะใภ้ก็เอาไปกันหมดเท่านั้นแหละ” แน่ะไม่จบ โยมคิดอย่างนี้ อาตมาก็จนใจเหมือนกันนะ น่าจะ เข้าไปโน่นนะ ไปฟังเทศน์อยู่ที่วัดศรีมหาโพธิ์นั่นดีกว่าละมั้งนี่ จะเอาจริงตรงไหนล่ะ คือมีแต่ความไม่พอ ไม่ตายก็ไม่พอ แล้วก็เป็นทุกข์เป็นร้อน ตอนนี้ไม่เห็นนานแล้ว ก็น่าจะตาย แล้วป่านนี้ ไม่เห็นมาแล้ว นี่คือกลัวไม่หยุด อันนี้เป็นอย่างนั้น ต่อไป ตรงนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป เลยวุ่นต่อไปตลอด เลย เป็นทุกข์ ไม่ได้อยู่เป็นสุขเลย อันนั้นเรียกว่าคนไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักพอ จะให้มันเป็นต่อเนื่องไปเรื่อยๆอย่างนั้น มันก็เป็น ไปได้ยากลำบาก

ฉะนั้น องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็อบรมไป ในปัจจุบันนี้ อบรมไปเรื่อยๆ ไปให้รู้เห็นในปัจจุบันของเรานี้ แก้ปัญหาเฉพาะในปัจจุบันของเรานี้แหละ อย่าให้มันไปทุกข์ เลย แก้ปัญหาให้มันได้ในปัจจุบันนี้ ถ้าคิดไปอย่างนั้นมันก็ ไม่จบ มิฉะนั้นการฟังธรรมนี่ มันก็ไม่แปลกกับจำนวนของเลข วิธีทำเลข มันก็มีวิธีบวก มันมีวิธีลบ มันมีวิธีคูณ มันมีวิธีหาร แบ่งออกให้มันได้จำนวนของมัน ไอ้ความคิดความรู้สึกของเรา ก็ต้องทำอย่างนั้น อย่าไปให้โทษมันสิ ให้โทษมันเรื่อยไม่ได้ หรอก ต้องแบ่งภาระให้รู้จักการณ์ รู้จักเวลา ให้มันสมควร

ถ้าเรารู้จักวันพระอย่างนี้ นานๆ ๒๖ วัน ก็ให้รู้จัก วันพระ ก็วันพระ ๔ วันเท่านั้นน่ะ เดือนหนึ่งมี ๔ วัน... พยายาม... วันอื่นให้ทำมาหากินเสีย แล้วก็มาอบรม อบรมแล้วก็ไปทำมาหากิน พอจิตใจมันจะวุ่นวาย ก็เข้ามาอบรมอีก แล้วก็ไปทำมาหากินต่อ สู้มันไปกับโลกอย่างนี้ มันก็รู้จักทางทำมาหากินไป ไม่เป็นทุกข์ ก็จะเห็นอนิจจังมันไม่เที่ยงพ้นขึ้นมา ถ้าไปยึดมั่นถือมั่นก็เป็นทุกข์ อย่างนี้มันก็มีอยู่ทั่วไป

ดูที่ชาวพุทธเรานะ อาตมาก็มาคิดดูที่ว่า ตั้งแต่อาตมา เกิดมานี้นะ คนเราน่ะ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า เกิดมาแล้ว มันเแก่ มันเจ็บ แล้วมันก็ตาย ฟังกันทุกคนแหละ พ่อแม่เรา เสียไป ญาติพี่น้องเราเสียไป ทำศพกัน เอาพระไปเทศน์ ท่าน ก็เทศน์ให้ฟังนะ แล้วท่านก็เทศน์ให้ฟังด้วย มันก็แก่ เจ็บ ตาย ตายแล้วก็เห็นด้วย แต่ว่าตายทุกคนร้องไห้ทุกที ไม่รู้ว่าเป็น ยังไง ท่านก็เทศน์ให้ฟังอยู่เรื่อยๆ ทุกคนที่รักของเรา ทุกคน จากไปร้องไห้ทุกที ไม่ได้ภาวนากันหรืออย่างไรก็ไม่รู้ ไม่ได้คิด กันบ้างหรืออย่างไรก็ไม่รู้ สังขารมันเป็นของไม่เที่ยง ท่านก็ บอก เราก็เห็นอยู่ว่ามันเป็นอย่างนั้น เราก็ยังไม่พิจารณานะ ก็มีความโศกเศร้า มีความน้อยใจ มีความพิไรรำพันอยู่ตลอด กาลตลอดเวลา ตลอดยุค ในปัจจุบันนี้

บ้านอาตมานี่ สมัยก่อนเมื่ออาตมาเป็นเด็ก คนใน บ้านตายนี่มันร้องไห้อยู่ตั้ง ๕ วัน ๖ วัน ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร เราก็เห็นว่าคนตายไม่คืนมา...เห็นทุกที แต่เราก็ไม่จำทุกที มัน ขาดการภาวนา ขาดการพิจารณา มาสมัยนี้อาตมาสงเคราะห์ ญาติอยู่วัดหนองป่าพงนี้ ประมาณสัก ๓๐ ปีมาแล้วนี่ ญาติ พี่น้องเสียไปนั่น พ่อแม่พี่น้องเสียไป ไม่เคยเห็นญาติโยม ร้องไห้...ไม่เคยเห็น ร้องไห้ก็นิดๆหน่อยๆ น้ำตาไหลนิดเดียว ก็พอ สมัยก่อนมันร้องตะโกนกันทั้งคืนทั้งวัน จนรำคาญ อันนี้อาตมาก็เรียกว่า ที่มาอบรมกันนี้ เห็นประโยชน์ ส่วนนี้พอสมควร คือ ได้ยินบ่อยๆ ได้ฟังบ่อยๆ ความรู้มันก็เกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อความรู้เกิดขึ้นบ่อยๆ ความฉลาดก็เกิดขึ้นมาบ่อยๆ ความฉลาดเกิดขึ้นมาบ่อยๆ เป็นต้น ความพ้นทุกข์มัน ก็เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ฉะนั้นมันดีแล้ว พวกเราได้ส่วนแบ่งส่วนแบ่งจากปราชญ์ทั้งหลายว่า เดือนหนึ่งเราได้ ๒๖ วัน ให้มาอบรม ๔ วัน ให้พิจารณา ให้พระให้ความเห็น ให้คิด ให้ภาวนา ให้พิจารณา ถ้าหากว่าท่านมอบให้เราทั้งหมด ๓๐ วัน คงจะแย่ล่ะมั้งนี่ ไม่รู้ว่าใครเป็นใครแล้ว นี่ ๓๐ วัน ท่านให้เรา ๒๖ วัน ทำมาหากินก็พอแล้ว ท่านให้มาอบรมเป็น วันพระ ๔ วัน อย่างนี้ก็พอสมควร เพราะจะรู้จะเห็นนี้

แต่สมัยนี้มาขโมยเอาวันพระไปหมดซะแล้ว แบ่งกัน ข้างหนึ่งเอา ๒๖ วัน ข้างหนึ่งเอา ๔ วัน บางแห่งมาขโมย วันพระไปหมดแล้ว...ไม่มีเหลือ คือวันพระก็ไม่รู้จักเข้าวัด ฟังธรรม ก็ไม่รู้จักอะไรต่ออะไร เป็นอย่างนั้น เหมาเอาทั้งหมดทั้งเดือน ๓๐ วันเอาคนเดียวหมด โดยดูที่ทุกวันนี้ ไปดูวันพระตามวัดตามวานี่ ญาติโยมจะเข้าวัดฟังธรรมฟังเทศน์ไม่ค่อย จะมีหรอก เหมาหมดเอาทั้ง ๓๐ วัน อาตมาว่า ท่านแบ่งให้ ๒๖ วันก็พอแล้ว พอควรแล้ว พระท่านให้ ๔ วัน เอาไว้อบรมก็พอสมควรแล้ว มากพอควร ในสมัยนี้ก็เป็นอย่างนั้นโดยมาก ฉะนั้น การฟังธรรมนี้ก็ให้ประโยชน์เรา ถ้าเราไปพิจารณาฯ